...
...
เผยแพร่: 31 ส.ค. 2558
หน้า: 11-22
ประเภท: บทความวิจัย
View: 266
Download: 99
Download PDF
การวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านโนนทรายคำ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สกลนคร เขต 2
Action Research on Developing the Ability to Read for Main Ideas in Substance Learning Thai Group of Prathom Suksa 5 at Ban Nonsaikham School under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 2
ผู้แต่ง
นิรันดร จันลาวงศ์, อุษา ปราบหงษ์
Author
Nirundorn Janlawong, Usa Prabhong

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านโนนทรายคำ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 นักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินร้อยละ 80 ขึ้นไป กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนบ้านโนนทรายคำ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 จำนวน 21 คน ระเบียบวิธีวิจัยใช้รูปแบบการวิจัยปฏิบัติการ ซึ่งดำเนินการเป็น 4 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา 2) เตรียมการและออกแบบนวัตกรรมเพื่อใช้ในการพัฒนา 3) นำนวัตกรรมไปใช้ในการพัฒนา โดยจำแนกเป็น 5 วงรอบ คือ วงรอบที่ 1 การอ่านจับใจความจากนิทาน วงรอบที่ 2 การอ่านจับใจความจากบทเพลง วงรอบที่ 3 การอ่านจับใจความจากบทร้อยกรอง วงรอบที่ 4 การอ่านจับใจความจากข่าวหนังสือพิมพ์ วงรอบที่ 5 การอ่านจับใจความจากเรื่องเล่าในท้องถิ่น และ 4) ประเมินและสรุปผลการพัฒนา

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความ จำนวน 5 ชุด 2) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 15 แผนการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านจับใจความ ชนิดปรนัยเลือกตอบ 40 ข้อ 4) แบบสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน และ 5) แบบบันทึกพฤติกรรมของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

ผลการทดสอบวัดความสามารถในการอ่านจับใจความ เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความ  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านโนนทรายคำ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 โดยจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติการร่วมกับชุดกิจกรรมเป็นสื่อการเรียนรู้ ใช้เทคนิคคำถาม 5W1H เทคนิคแผนผังความคิด และเทคนิคการเสริมแรง เพื่อลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียน เมื่อสิ้นสุดการพัฒนาทั้ง 5 วงรอบ พบว่า จากคะแนนเต็ม 40 คะแนน ได้คะแนนเฉลี่ย 34.90 คิดเป็นร้อยละ 90.49 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดในระดับร้อยละ 80 พบว่า นักเรียนทั้งหมด 21 คน ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดในระดับร้อยละ 80 ทุกคน คิดเป็นร้อยละ 100 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้

จากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพในระหว่างดำเนินการพัฒนา โดยจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติการร่วมกับชุดกิจกรรมเป็นสื่อการเรียนรู้ ใช้เทคนิคคำถาม 5W1H เทคนิคแผนผังความคิด และเทคนิคการเสริมแรง เพื่อลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียน พบว่า นักเรียนมีความกระตือรือร้น ในการเรียน เกิดความสนุกสนาน ไม่เบื่อหน่าย ส่งเสริมให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ตามความสามารถของแต่ละบุคคล การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน รู้จักการทำงานเป็นกลุ่ม กล้าแสดงออก มีความภาคภูมิใจในผลงานของตน

Abstract

This study was conducted to improve the ability to read for main ideas in Substance Learning Thai Group of Prathom Suksa 5 at Ban Nonsaikham school under the office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 2 to surpass the established criteria of 80 percent. The target group included 21 Prathom Suksa 5 students who were studying in the second semester of 2014 academic year at Ban Nonsaikham School under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 2. This Action research was divided into 4 stages: 1) investing and analyzing the conditions and problems to identify the causes of the problems; 2) preparing and designing the innovation (research) for an improvement or development; 3) adopting the innovation by subdividing it into 5 cycles: cycle 1 was reading for main ideas form tales, cycle 2 was reading for main ideas form songs, cycle 3 was reading was reading for main ideas form poems, and cycle 4 was reading for main ideas form newspapers’ news pieces, and cycle 5 was reading for main ideas from local stories; and 4) evaluating and concluding the innovation for an improvement of the reading ability.

The instruments used were 5 activity packages of improving the ability to read for main ideas, 2) 15 learning plans, 3) 40–items–objective test of the ability to read for main ideas, 4) the form to observe the students, behaviors, 5) the form to record the students, behaviors. Statistics employed for data analysis were percentage, mean and standard deviation.

The study revealed these results:

Through the action research procedure, the learning activity packages were employed in combination with 5W1H questioning technique, mind mapping technique, reinforcement technique to decrease the students’ undesirable behaviors. When all 5 cycles had been finished, the students’ ability to read for main ideas was examined. They got 34.90 from the full points of 40 equaling 90.49 percent. In comparison comparison with the set criteria of 80 percent, all 21 students were able to Pass the set criteria. The result gained was that 100 percent of the students surpassed the established criteria.

The qualitative data was analyzed. The learning activity packages, 5W1H questioning technique, mind mapping, reinforcement technique were all adopted to the instructional activities during the ongoing action research in order to decrease the students’ undesirable behaviors. It was found that the students later became enthusiastic, having fun, and not weary of their study. The students were reinforced to learn according to their own capability. They helped each other and learnt how to work in groups. They dared to assert their thoughts and were proud of their performance and productivity.

คำสำคัญ

การพัฒนาการอ่านจับใจความ, การวิจัยปฏิบัติการ, เทคนิคคำถาม 5W1H, เทคนิคแผนผังความคิด, เทคนิคการเสริมแรง

Keyword

Developing/improving the ability to read for main ideas, action research, 5W1H questioning technique, mind mapping technique, reinforcement technique
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 2

วันนี้: 50

เมื่อวานนี้: 533

จำนวนครั้งการเข้าชม: 793,345

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033