...
...
เผยแพร่: 31 ส.ค. 2558
หน้า: 1-9
ประเภท: บทความวิจัย
View: 500
Download: 218
Download PDF
การพัฒนาชุดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง การบวก ลบ คูณ และหารทศนิยม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Development of Mathematical Instructional Packages using Problem-Based Learning on Addition, Minus, Multiplication and Division of Decimal Notation for Prathom Suksa 6
ผู้แต่ง
ภัทรา ปัญจมาตย์, เพลินพิศ ธรรมรัตน์, พจมาน ชำนาญกิจ
Author
Pattara Panjamat, Ploenpit Thummarat, Potchaman Chamnankit

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาชุดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง การบวก ลบ คูณ และหารทศนิยม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง การบวก ลบ คูณ และหารทศนิยม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) ศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ด้วยชุดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง การบวก ลบ คูณ และหารทศนิยม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 4) ศึกษาความคงทนในการเรียนรู้ เรื่อง การบวก ลบ คูณ และหารทศนิยม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการสอนด้วยชุดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนบ้านโนนชนะสังคม อำเภอวานรนิวาส สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 จำนวน 11 คน ซึ่งได้มาจากวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ชุดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ปัญหเป็นฐาน เรื่อง การบวก ลบ คูณ และหารทศนิยม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 5 หน่วย 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การบวก ลบ คูณ และหารทศนิยม 4) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหเป็นฐาน และ 5) แบบทดสอบวัดความคงทนในการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบนเบี่ยงมาตรฐาน ค่าร้อยละ ดัชนีความสอดคล้องประสิทธิภาพของชุดการเรียนรู้ E1/E2 และสถิติทดสอบ t-test (Dependent Samples)

ผลการวิจัยพบว่า

1. ชุดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง การบวก ลบ คูณ และหารทศนิยม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ 85.82/80.30 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้

2. นักเรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง การบวก ลบ คูณ และหารทศนิยม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3. นักเรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง การบวก ลบ คูณ และหารทศนิยม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ด้วยชุดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน อยู่ในระดับมากที่สุด

4. นักเรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง การบวก ลบ คูณ และหารทศนิยม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนและคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน 2 สัปดาห์ ไม่แตกต่างกัน แสดงว่า นักเรียนมีความคงทนในการเรียนรู้

Abstract

The purposes of this research were: 1) to develop the Instructional Packages using Problem-Based Learning to the required criteria of 80/80, 2) to compare the achievement of mathematical learning between the pre-test and the post-test scores, 3) to examine satisfaction with learning using Problem-Based Learning, and 4) to examine learning retention of students learning through instructional packages using Problem-Based Learning. The sample group consisted of 11 Prathom Suksa 6 students of Ban Nonsana Sungkhom School under the Office of Sakon Nakhon Educational Service Area 3 in the first semester of academic year 2014. The group was selected by purposive sampling technique. The tools used in this experiment were: 1) the 5 units of learning packages using Problem-Based Learning, 2) a learning achievement test, 4) a questionnaire of satisfaction with the Problem-Based Learning, and 5) a retention test. The data were analyzed by mean, standard deviation, percentage, IOC, efficiency of learning package (E1/E2), and t–test (Dependent Samples).

The results of this research revealed the following:

1. The Instructional packages using Problem-Based Learning on Addition, Minus, Multiplication and Division of Decimal Notation for Prathom Suksa 6 had the efficiency of 85.82/80.30 which was the same as required efficiency of 80/80.

2. The students who learned with the learning packages using Problem-Based Learning has post-test achievement scores higher than pre-test scores at the .05 level of significance.

3. The students who learned through the learning packages using Problem-Based Learning had the highest satisfaction with Problem-Based Learning.

4. The students who learned through the packages using Problem-Based Learning on Addition, Minus, Multiplication and Division of Decimal Notation for Prathom Suksa 6 had post-learning achievement and learning achievement after learning for 2 weeks. If wasn’t different that meant the students had retention of their knowledge gained from learning through the developed materials.

คำสำคัญ

ชุดการเรียนรู้คณิตศาสตร์, การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน

Keyword

Mathematical Packages, Problem-Based Learning
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 29

วันนี้: 196

เมื่อวานนี้: 1,746

จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,931

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033