...
...
เผยแพร่: 31 ธ.ค. 2558
หน้า: 135-143
ประเภท: บทความวิจัย
View: 173
Download: 93
Download PDF
ปัจจัยจูงใจการศึกษาต่อของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงวิทยาลัยในเครือไทย–เทค กรุงเทพมหานคร
The Factore Motives Needs of the study of Diplomas Vocational Education and training Level Thai-tech College in Bangkok Metropolistan
ผู้แต่ง
สายใจ ธรฤทธิ์, ชฎิล นิ่มนวล
Author
Saijai Thonrith, Chardin Nimnuen

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยจูงใจในการเลือกศึกษาต่อของนักศึกษาในวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ทั้งในภาพรวมและรายด้าน 2) เพื่อศึกษาความแตกต่างปัจจัยจูงใจในการเลือกศึกษาต่อของนักศึกษาในวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ที่รับนักศึกษาจบจากมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม.6) กับการรับนักศึกษาที่จะจบระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช) ทั้งในภาพรวมและรายด้าน

กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนที่จบการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม.6) และจบการศึกษา (ปวช) ในเครือไทย–เทค  ปีการศึกษา 2557 ได้จากกลุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Sample Random Sampling) ได้กลุ่มตัวอย่าง (ม.6) และ (ปวช) จำนวน 322 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามระดับความคิดเห็น แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.93 การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที t-test และ One Way ANOVA ตามลำดับ

ผลการวิจัยพบว่า

1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยจูงใจการเข้าศึกษาต่อระดับอาชีวศึกษาเอกชนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พบปัจจัยจูงใจทั้ง 7 ด้านโดยรวมอยู่ในระดับมาก ถ้าพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าทั้ง 7 ด้านทั้งในภาพรวม และรายด้าน ปัจจัยจูงใจทางด้านอยู่ในระดับมากโดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (\bar{x} = 3.97) ส่วนค่าเฉลี่ยต่ำสุดเท่ากับ (\bar{x} = 3.62)

2. การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ปัจจัยจูงใจในการเข้าศึกษาโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน จำแนกตามเพศ ระหว่างเพศหญิงกับเพศชาย โดยภาพรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (\bar{x} = 3.70) ถ้าพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการมีชื่อเสียงของวิทยาลัย ด้านการจัดการเรียนการสอนและด้านเจตคติ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (P<.05) ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้

3. การวิเคราะห์เปรียบเทียบปัจจัยจูงใจการศึกษาต่อประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม.6) กับนักศึกษาชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ โดยรวมและรายด้านจำแนกตามวุฒิการศึกษาพบว่า โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (P < .05) ถ้าพิจารณารายด้านพบว่าด้านการศึกษาต่อวิชาชีพนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กับนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพ มีปัจจัยใจจูงใจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้

Abstract

The purpose of the Research study were to 1)  A Study the Factors Motives Needs of the study in Diplomas Vocational Education and Training Level Consfderation as a whole and every as aspects 2) A study most different the Factors Motives Needs of the Study in Diplomas Vocational Education and Training Level for High school Vocational Certificate Education and training Level consideration as a whole and were as aspects.

The Sample of this Research consistan of 322 (Sample Random Sampling) a student from thai–tech College in 2014. The instrument used for data collation was 5 rating scale questionnaire with alpha reliability of 0.93. The Statistics were in the data analyes were percentage, mean, standard diviation, t-test one way ANOVA.

Research result findings were as follows:

1. Analyes data of Factors Motives Needs of the study in Diplomas Vocational Education and Training Level the Motives total 7 aspect Consideration as a whol at the high (\bar{x} = 3.62) mean (\bar{x} = 3.97) Lower of mean.

2. A comparisons mean and standard Diviation Factors Motives Neads of the study in Diplomas Vocational were conducted by gender between (M) and (F) Consideration as a whole at the high Level mean (\bar{x}​​​​​​​ = 3.70) consideration as aspect of college well knowlge and teaching and Learning and attitude had statieal Significant difference at .05 for the null Hypothesis.

3. A comparisons of the Factors Motives Needs of the Study in Diplomas Vocational Education and training Level from high Schools (M6) Level and Certificates Vocational Education and training Level (C.V.E) consideration as a whol and as aspect in Qualification as a whol. Consideration had no difference significant at .05 (P<.05) consideration of attitude vocational Education and training between high school (M6) and certificate vocational Education and training (C.V.E) had the Motives of the statistical significant different at .05 Level for the Null hypothesis.

คำสำคัญ

ปัจจัยจูงใจ, ประกาศนียบัตรวิชาชีพสูง, ไทยเทค

Keyword

Factore Motives, Diplomas Vocational Education, Thai-tech
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 6

วันนี้: 68

เมื่อวานนี้: 585

จำนวนครั้งการเข้าชม: 795,486

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033