บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบข้อมูลปัจจัยจูงใจในการศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษาตอนปลายการศึกษานอกระบบ การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของนักศึกษาศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเขตประเวศ กรุงเทพมหานคร
ตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเขตประเวศ กรุงเทพมหานคร กำหนด โดยตาราง Krejcie และ Morgan ได้ตัวอย่างจำนวน 214 คน เลือกตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามที่ผ่านการทดสอบหาค่าความเชื่อมั่น โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) ได้ = 0.96 และค่า IOC = 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า:
1. ผลการวิเคราะห์ระดับปัจจัยจูงใจในการศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษาตอนปลายการศึกษานอกระบบขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของนักศึกษาศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเขตคันนายาว พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง และมีอายุระหว่าง 15–30 ปี จำนวน 135 คน
2. ผู้เรียนมีระดับปัจจัยจูงใจในการศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษาตอนปลายการศึกษานอกระบบขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยภาพรวมและรายทุกด้านอยู่ในระดับมาก คือ ด้านครูผู้สอน ด้านความสำเร็จ ด้านกระบวนการเรียนการสอน ด้านการบริหารจัดการของสถานศึกษาและด้านสถานที่
3. ผู้เรียนที่มีสถานภาพโสดและมีรายได้จากการประกอบอาชีพอยู่ในเงินเดือนระหว่าง 10,001–15,000 บาท มีอำนาจการตัดสินใจเรียนต่อเพื่อความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
Abstract
This purpose of research investigating motivation factors for furthering high school education in basic non-formal education for the year B.E 2551.
The sample represented students at the Prawet Non-formal and Informal Education Center, Bangkok. Krejcie and Morgan Table was applied to determine sample size and then 214 subjects were selected by Simple Random Sampling method. The research tool was the questionnaire already tested for its reliability by applying Cronbach’s Alpha Coefficient ( = 0.96). The statistics applied in this study included percentage, mean, standard deviation and rating.
The research result finding were as follows:
1. According to the analysis of motivation factors for furthering high school education in basic non-formal education for the year 2008 of students at the Prawet Non-formal and Informal Education Center, most respondents were female, age range 15–25 years old, totaling 95 subjects.
2. Students had motivation factors for furthering high school education in basic non-formal education for the year 2008 at high level either the overall picture or respective aspect including instructor, achievement, learning procedures, administration by academic institute and facilities aspect.
3. Students who were single and whose income from their career was in the range of 10,001–15,000 baht had power to take decision whether to further their education for the progress in their career path.
คำสำคัญ
ปัจจัยจูงใจ, การศึกษาต่อ, การศึกษานอกระบบKeyword
Motivation, Futhering, Non-formal Educationกำลังออนไลน์: 32
วันนี้: 207
เมื่อวานนี้: 1,746
จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,942
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033