บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Reaearch) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครูที่มีต่อการบริหารงานโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตคลองสามวา และเปรียบเทียบความพึงพอใจของครูที่มีผลต่อการบริหารงานโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตคลองสามวา จำแนกตามเพศและประสบการณ์ทำงาน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นครูที่ปฏิบัติการสอนในโรงเรียน จำนวน 113 คน โดยการใช้ตาราง Krejcje และ Morgan เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .963 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA)
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล สรุปได้ดังนี้
1. ครูโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตคลองสามวา สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ทั้งเพศชายและเพศหญิงมีจำนวนไม่เท่ากัน พบว่า เพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยมีประสบการณ์ในการทำงานตั้งแต่ 20 ปี ขึ้นไปมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ประสบการณ์ทำงาน ต่ำกว่า 10 ปี และประสบการณ์การทำงาน 10-20 ปี ซึ่งมีจำนวนเท่ากัน
2. ความพึงพอใจของครูที่มีต่อการบริหารงานโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครสำนักงานเขตคลองสามวา ในภาพรวม พบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านการบริหารงานวิชาการ รองลงมาคือ ด้านการบริหารงานงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคลากร และที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านการบริหารงานทั่วไป
3. ผลการเปรียบเทียบความความพึงพอใจของครูที่มีต่อการบริหารงานโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตคลองสามวา โดยภาพรวมแล้วไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อพิจารณาในรายด้าน ซึ่งประกอบด้วย ด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านการบริหารงานงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคลากร และด้านการบริหารงานทั่วไป พบว่าครูในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตคลองสามวา ในรายด้านไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
4. ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจของครูที่มีประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการบริหารงานโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตคลองสามวาโดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ซึ่งประกอบด้วย ด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านการบริหารงานงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคลากรและ ด้านการบริหารงานทั่วไป พบว่า ครูในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตคลองสามวา มีประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการบริหารงานโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตคลองสามวาใน รายด้านไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
5. ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบความพึงพอใจต่อการบริหารงานโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตคลองสามวา จำแนกระหว่างเพศชายกับเพศหญิง โดยรวมพบว่าไม่แตกต่างกัน ถ้าพิจารณารายด้าน พบว่า การบริหารงานงบประมาณเพศชายและเพศหญิงคิดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
6. ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบความพึงพอใจของครูที่มีต่อการบริหารโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครสำนักงานเขตคลองสามวา โดยรวมพบว่าไม่แตกต่างกัน พิจารณารายด้านพบว่า ประสบการณ์ต่างกัน ความพึงพอใจกับการบริหารงบประมาณแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
7. ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบความพึงพอใจต่อการบริหารโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครสำนักงานเขตคลองสามวา จำแนกตามขนาดโรงเรียน โดยรวมพบว่าไม่แตกต่างกัน พิจารณารายด้านระหว่างโรงเรียนขนาดกลางกับโรงเรียนขนาดใหญ่ มีความพึงพอใจในการบริหารงบประมาณแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Abstract
This research was survey research. The purpose of the study and fellow teachers satisfaction with the management school under the Bangkok, Klongsamwa district. Compare the satisfaction of teachers affect the Administration Metropolitan. By separate of gender and work experience.
The samples in this research used in this study were 113 teachers Using tables and Krejcie and Mogan, by simple random sampling. The tools used in this research were a guestionnaire that tested for reliability. The formula has the confidence. 963 Data were analyzed using complete software. Usage statistic such as frequency, mean and standard deviation t-test and one way analysis of variance.
The result of analysis for the data summarized as follows:
1. The Teacher under Bangkok, Klongsamwa district. The status of the respondents both male and female are unequal. Found the females than males. The work experience of 20 years and up to the most Followed by under 10 years of work experience and work experience of 10-20 years, who have the same number.
2. Satisfaction of teachers with the school administration under Bangkok, Klongsamwa district overall found. Opinion was high on all sides, The highest value is the Academic, Administration. Followed by the administrative budget. Administrative personnel. And with an average minimum is the general administration.
3. The comparison of teacher satisfaction with the school, The Bangkok Metropolitan Administration, Klongsamwa district. Overall, no difference. However, when considered in the side comprised of academic administration. Management and Budget Administrative personnel and administrative Management. Found that teachers in schools under Bangkok, Klongsamwa district in different aspects. Which do not come from to the hypothesis.
4. The comparison of teacher satisfaction with years of experience working with different preference for the Administration of Metropolitan, Klongsamwa district. Overall, no difference. When the criterion that the Academic Administration Management and Budget Administrative personnel and general administration Found that teachers in school under Bangkok, Klongsamwa district. Experience is different. The satisfaction of the Administration of Metropolitan, Klongsamwa district in different areas, which do not accordance hypothesis.
5. Analyses the comparison of Teachers satistaction of the gender difference between Male Eemale consideration a whole as have not difference the consideration of the Budgeting Management Male and Female satisfaction significant of statistical difference Level at .05.
6. Analyses comparison of Teachers satisfaction in Bangkok Metro politance Klongsamwa district a work as have not difference the consideration as aspect of the work experience satisfaction of the Budget management significance of statistical difference Level at .05.
7. Analyses comparison of Teachers satisfaction in Bangkok Melropolitance Klongsamwa district a whale as schools have not difference the consideration as aspect between schools Midiun size and & hoals Lage size Feathers satisfaction of Budgen Management Significant of Statistical difference Level at .05.
คำสำคัญ
ความพึงพอใจ, การบริหาร, กรุงเทพมหานครKeyword
Satisfaction, Administration, Bangkok Metropolitan Administrationกำลังออนไลน์: 30
วันนี้: 195
เมื่อวานนี้: 1,746
จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,930
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033