...
...
เผยแพร่: 31 ธ.ค. 2558
หน้า: 79-91
ประเภท: บทความวิจัย
View: 202
Download: 98
Download PDF
การพัฒนาครูด้านการจัดทำวิจัยในชั้นเรียนโรงเรียนเทศบาลเชียงเครือ และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเชียงเครือ กองการศึกษา เทศบาลตำบลเชียงเครือ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร
Teacher Development in Doing Classroom Research at Chiangkrua Municipal School and Early Childhood Development Center of Ban Chiangkrua under Education Division, Tambon Chiangkrua Municipality, Muang District, Sakon Nakhon Province
ผู้แต่ง
กรรณิกา พลบุตร
Author
Kannika Ponlabud

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดทำวิจัยในชั้นเรียนโรงเรียนเทศบาลเชียงเครือและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเชียงเครือ กองการศึกษา เทศบาลตำบลเชียงเครือ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนครภายใต้กลยุทธ์ในการพัฒนา คือ การศึกษาเอกสาร การอบรมเชิงปฏิบัติการ การศึกษาดูงาน และการนิเทศการสอน โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ตามหลักการและแนวคิดของ Kemmis and McTaggart ประกอบด้วย ขั้นการวางแผน (Planning) ขั้นการปฏิบัติตามแผน (Action) ขั้นการสังเกต (Observation) ขั้นการสะท้อนผล (Reflection) จำนวน 2 วงรอบกลุ่มเป้าหมาย คือ ครู โรงเรียนเทศบาลเชียงเครือและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเชียงเครือ กองการศึกษา เทศบาลตำบลเชียงเครือ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ปีการศึกษา 2557 จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดฝึกอบรมการพัฒนาครูด้านการจัดทำวิจัยในชั้นเรียน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ด้านการจัดทำวิจัยในชั้นเรียน 3) แบบสังเกตการอบรมเชิงปฏิบัติการ 4) แบบสังเกตการนิเทศการสอน 5) แบบสัมภาษณ์ครูเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันปัญหาการพัฒนาคุณภาพการศึกษา 6) แบบสัมภาษณ์การศึกษาเอกสารเกี่ยวกับการวิจัย 7) แบบสัมภาษณ์การอบรมเชิงปฏิบัติการ 8) แบบบันทึกการนิเทศการสอน 9) แบบสอบถามปัญหาพื้นฐานด้านการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู 10) แบบสอบถามความคิดเห็นของครูต่อการจัดทำวิจัยในชั้นเรียน 11) แบบประเมินผลการอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาครูด้านการจัดทำวิจัยในชั้นเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้เทคนิคการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า (Triangulation Technique) และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและสถิติบรรยาย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความถี่ และร้อยละ

ผลการวิจัยพบว่า

1. การพัฒนาครูด้านการจัดทำวิจัยในชั้นเรียนด้านกลยุทธ์การศึกษาเอกสาร ทำให้ครูกลุ่มเป้าหมายมีความเข้าใจในแนวนโยบายเกี่ยวกับการเรียนรู้ที่เน้นการจัดทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อปรับปรุงและพัฒนาผลสัมฤทธิ์นักเรียนให้เพิ่มมากขึ้น

2. การอบรมเชิงปฏิบัติการ พบว่า ครูโรงเรียนเทศบาลเชียงเครือและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเชียงเครือ กองการศึกษา เทศบาลตำบลเชียงเครือที่เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาครูด้านการจัดทำวิจัยในชั้นเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำวิจัยในชั้นเรียนหลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรม

3. การพัฒนาครูด้านการจัดทำวิจัยในชั้นเรียนด้านกลยุทธ์การนิเทศการสอน พบว่า ในวงรอบที่ 1 กลุ่มเป้าหมาย มีความรู้และความเข้าใจในหลักการจัดทำวิจัยในชั้นเรียนมากขึ้นมีทักษะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภายใต้กระบวนการจัดทำวิจัยในชั้นเรียนเพิ่มขึ้นและการสะท้อนปัญหาที่ได้จากการทำกิจกรรมการเรียนรู้ ซึ่งเกิดจากกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผ่านการเยี่ยมชั้นเรียนภายใต้การจัดทำวิจัยในชั้นเรียน และมีการสะท้อนผลเพื่อปรับปรุงงาน ระดับปานกลาง โดยเมื่อสิ้นสุดวงรอบที่ 2 กลุ่มเป้าหมายมีการจัดทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อปรับปรุงและพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้และผลการนิเทศการสอนโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก

4. การพัฒนาครูด้านการจัดทำวิจัยในชั้นเรียนด้านกลยุทธ์การศึกษาดูงานทำให้กลุ่มเป้าหมายมีทัศนคติในการทำงานไปในทิศทางที่ดีขึ้น สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในโรงเรียนของตนเองได้เป็นอย่างดี

Abstract

The objective of this research was to develop the teachers at Chiangkrua Municipal School and Early Childhood Development Center of Ban Chiangkrua under Education Division, Tambon Chiangkrua Municipality, Muang District, Sakon Nakhon Province. The development strategies used were documentary research, workshop training, study tour and teaching supervision and this research was an action research based on Kemmis and McTaggart’s principle and idea consisting of four steps namely planning, action, observation and reflection in two cycles. The target groups were seven teachers at Chiangkrua Municipal School and Early Childhood Development Center of Ban Chiangkrua under Education Division, Tambon Chiangkrua Municipality, Muang District, Sakon Nakhon Province of academic year 2014. The instruments used for the research were 1) training package for developing teachers in doing classroom research 2) learning achievement test of doing classroom research 3) observation forms for the workshop 4) observation forms for teaching supervision 5) interview forms for interviewing the teachers about the present state of the problems in education quality development 6) interview forms for interviewing the teachers about the documentary research 7) interview forms for interviewing the teachers about the training workshop 8) forms for recording teaching supervision 9) questionnaire for fundamental problems in doing classroom research of the teachers 10) questionnaire for teachers attitudes toward doing classroom research 11) evaluation form for the training workshop. Data analysis by using triangulation for data inspection and data analysis by using content analysis and descriptive statistics which include mean, standard deviation, frequency and percentage.

The findings were:

1. The documentary research as a strategy for teacher development in doing research made the teachers understand the learning policy which emphasized doing classroom research to improve and develop the students’ learning achievement.

2. It was found that through the training workshop the teachers’ knowledge and understanding about doing classroom research were higher than their knowledge and understanding before the workshop.

3. It was found, in the first cycle, that using teaching supervision as a development strategy made the target teachers gain more knowledge and understanding in the principle of doing classroom research and the teachers were more highly skilled in designing learning activities as part of classroom research process and they gained problem reflection from learning activities in exchange of learning, visiting classrooms under classroom research and there was feedback for improvement at a moderate level. At the end of the second cycle the target teachers did their own classroom research to improve and develop learning activities and the result of teaching supervision was, as a whole, at a “very high” level.

 4. Study tour as a development strategy improved the target teachers’ work attitudes. They were able to apply what they had learned successfully.

คำสำคัญ

การพัฒนาครู, วิจัยในชั้นเรียน, โรงเรียนเทศบาลเชียงเครือและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเชียงเครือ

Keyword

Teacher development, Classroom Research, Chiangkrua Municipal School and Early Chiangkrua Childhood Development Center of Ban Chiangkrua under Education Division
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 5

วันนี้: 166

เมื่อวานนี้: 585

จำนวนครั้งการเข้าชม: 795,584

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033