บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาชุดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3) ศึกษาพฤติกรรมความร่วมมือของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ชุดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนอนุบาลบึงกาฬ วิศิษฐ์อำนวยศิลป์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 40 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้ ได้แก่ ชุดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ แบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินพฤติกรรมความร่วมมือ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้ t-test (Dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ชุดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง พืชสมุนไพรในท้องถิ่น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ 88.62/88.23 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 75/75
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง พืชสมุนไพรในท้องถิ่นสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. พฤติกรรมความร่วมมือของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง พืชสมุนไพรในท้องถิ่น โดยภาพรวมนักเรียนมีพฤติกรรมความร่วมมือ มีค่าเฉลี่ย 4.05 อยู่ในระดับมาก
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ชุดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง พืชสมุนไพรในท้องถิ่นโดยภาพรวมนักเรียนมีระดับความพึงพอใจ มีค่าเฉลี่ย 4.47 อยู่ในระดับมาก
Abstract
This study was conducted with the following purposes: 1) to develop the science learning packages using cooperative learning, 2) to compare the students’ achievements gained before and after, 3) to investigate the students’ cooperative behavior by using science learning packages and 4) to investigate the students’ satisfaction of science learning packages. The subjects were 40 Prathomsuksa 3/1 students who enrolled in the second semester of 2014 academic year of Anubanbuengkanwisit-umnuaisin School. They were obtained by Cluster Random Sampling. The instruments used included science learning packages, Cooperative Learning plans, the test to examine the students’ learning achievement, an assessment of cooperative behavior and a questionnaire to survey the students’ satisfaction. Thestatistics comprised percentage, mean and standard deviation,and t-test (Dependent Samples)for checking the difference between two groups of arithmetic means.
The results gained were as the following:
1. The developed science learning packages using cooperative learning entitled “Local Herb” had its efficiency of 88.62/88.23 which was higher than the established criteria of 75/75.
2. The student’s learning achievement after learning through the developed science learning packages using cooperative learning entitled “Local Herb” was higher than before at .01 level of significance.
3. The student’s cooperative behavior after learning through the developed science learning packages using cooperative learning entitled “Local Herb”, as a whole was at the high level with the mean of 4.05.
4. The student’s satisfaction with the developed science learning packages using cooperative learning entitled “Local Herb”, as a whole, was at the high level with the mean of 4.47.
คำสำคัญ
ชุดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์, การเรียนรู้แบบร่วมมือ, พืชสมุนไพรในท้องถิ่นKeyword
science learning packages, cooperative learning, Local Herbกำลังออนไลน์: 33
วันนี้: 132
เมื่อวานนี้: 1,746
จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,867
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033