บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอน โดยใช้ยุทธวิธีเมตาคอคนิชันร่วมกับการ์ตูน เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 2) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของกิจกรรมการเรียนการสอน โดยใช้ยุทธวิธีเมตาคอคนิชันร่วมกับการ์ตูน ตามเกณฑ์ดัชนีประสิทธิผลตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไป 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยกิจกรรมการเรียนการสอน โดยใช้ยุทธวิธีเมตาคอคนิชันร่วมกับการ์ตูน และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนการสอน โดยใช้ยุทธวิธีเมตาคอคนิชันร่วมกับการ์ตูน เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านดอนข้าวหลาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 13 เรื่อง การบวกลบ คูณ หารระคน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ
ผลของการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนการสอน โดยใช้ยุทธวิธีเมตาคอคนิชันร่วมกับการ์ตูน เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 83.53/85.86 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของกิจกรรมการเรียนการสอน มีค่า 0.83 ซึ่งเพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ประสิทธิผลสูงกว่า ร้อยละ 50 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้ยุทธวิธีเมตาคอคนิชันร่วมกับการ์ตูน มีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทที่ระดับ .01
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนการสอน โดยใช้ยุทธวิธีเมตาคอคนิชันร่วมกับการ์ตูน เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก
Abstract
The purposes of this study were: 1) to develop instructional activities using metacognitive strategies together with cartoons for strengthening the ability to solve mathematics problems of Prathom Suksa 2 students based on the 80/80 efficiency criterion, 2) to find effectiveness of instructional activities using metacognitive strategies together with cartoons based on the criterion of 50 percent or more, 3) to compare ability in solution of mathematics problems of the students between before and after the treatment of instructional activities using metacognitive strategies together with cartoons, and 4) to examine students’ satisfaction with instructional activities using metacognitive strategies together with cartoons for strengthening the ability to solve mathematics problems of Prathom Suksa 2 students. A sample used was 30 Prathom Suksa 2 students at Ban Don Khaolaam School in academic year 2014 under the Office of Nakhon Phanom Primary Educational Service Area 1. The instruments used were: 1) a mathematics instructional plan of learning unit 13 entitled ‘Mingling among adding, subtracting, multiplying and dividing’ in the mathematics learning substance group for Prathom Suksa 2 students; 2) a test of ability in solving the mathematics problems; and 3) a questionnaire of satisfaction.
The findings were as follows:
1. The efficiency of instructional activities using metacognitive strategies together with cartoons for strengthening the ability to solve mathematics problems as developed, by this author had an index of 83.53/85.86, which was higher than the criterion having been set.
2. The effectiveness index of the instructional activities using metacognitive strategies together with cartoons for strengthening the ability to solve mathematics problems as developed, by this author increased 50 percent according to the stated hypothesis.
3. The Prathom Suksa 2 students after learning with instructional activities using metacognitive strategies together with cartoons for strengthening their ability to solve mathematics problems had significantly higher ability than that before learning with it at the .01 level.
4. The Prathom Suksa 2 students’ overall satisfaction with instructional activities using metacognitive strategies together with cartoons for strengthening their ability to solve mathematics problems was at high level.
คำสำคัญ
กิจกรรมการเรียนการสอน, ยุทธวิธีเมตาคอคนิชัน, การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์Keyword
Instructional Activities, Metacognitive Strategies, Solution of Mathematics Problemsกำลังออนไลน์: 20
วันนี้: 46
เมื่อวานนี้: 1,746
จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,781
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033