บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ รายวิชาศิลปะพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 2) เปรียบเทียบประสิทธิผลของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ รายวิชาศิลปะพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กับเกณฑ์ดัชนีประสิทธิผลไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ รายวิชาศิลปะพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ รายวิชาศิลปะพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนกุดบากพัฒนาศึกษา อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร จำนวน 38 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ รายวิชาศิลปะพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ รายวิชาศิลปะพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 4) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่า t (t-test) ชนิด Dependent Samples
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ รายวิชาศิลปะพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.05/82.89 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80
2. ประสิทธิผลของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ รายวิชาศิลปะพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเท่ากับ 0.7332 คิดเป็นร้อยละ 73.32 ซึ่งมีประสิทธิผลตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ รายวิชาศิลปะพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ รายวิชาศิลปะพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.52)
Abstract
The purposes of this research were to : 1) develop and assess the efficiency of the electronic book on the subject of Fundamental Arts in Arts Learning Substance Group for Mathayomsuksa 1 to meet the criteria of 80/80, 2) compare the effectiveness index of the developed book with the effective index criteria what was not lower than 50 percent, 3) compare the student’s achievements gained before and after learning through the developed electronic book on the subject of Fundamental Arts in Arts Learning Substance Group
for Mathayomsuksa 1, and 4) investigate the student’s satisfaction towards the developed electronic book on the subject of Fundamental Arts in Arts Learning Substance Group for Mathayomsuksa 1. The sample consisted of 38 students of Mathayomsuksa 1 in the second semester of 2014 academic year at Kutbakpatanasuksa School, collected by cluster random sampling. The research instruments used were composed of : 1) the developed Electronic book on the subject of Fundamental Arts in Arts Learning Substance Group for Mathayomsuksa 1, 2) The lesson plans, 3) The achievement test, and 4) The satisfaction test towards the developed electronic book. The statistics used to analyze data were percentage, mean, standard deviation and t (t-test) (Dependent Samples).
The findings were as follows:
1. The efficiency of the developed electronic book on the subject of Fundamental Arts in Arts Learning Substance Group was 84.05/82.89, which was higher than the set criterion of 80/80.
2. The effectiveness index of the developed electronic book on the subject of Fundamental Arts in Arts Learning Substance Group for Mathayomsuksa 1, average score, was 0.7332 (73.32 percent) which met the criterion set.
3. The average learning score of the students after the intervention towards the developed electronic book was higher than those before at the .01 level of significance.
4. The students’ satisfaction towards the developed electronic book was at the high level ( = 4.52).
คำสำคัญ
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์, ศิลปะพื้นฐานKeyword
Electronic book, Fundamental Artsกำลังออนไลน์: 33
วันนี้: 160
เมื่อวานนี้: 1,746
จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,895
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033