...
...
เผยแพร่: 30 เม.ย. 2560
หน้า: 167-180
ประเภท: บทความวิจัย
View: 205
Download: 68
Download PDF
การเปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น กับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์
Comparison of Critical Thinking Abilities and Learning Achievements Entitled “Structures and Functions of Flowering Plants” for Mathayom Suksa 5 students Using 7E’s Learning Cycle and the Constructivist Theory Learning Activities
ผู้แต่ง
ไพบูรณ์ ทุมโยมา, อนันต์ ปานศุภวัชร, ถาดทอง ปานศุภวัชร
Author
Baiboon Thoomyoma, Anun Pansuppawat, Thardthong Pansuppawat

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น และแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น กับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ 3) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น 4) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ และ 5) เปรียบเทียบความพึงพอใจของนักเรียน ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น กับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 80 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มทดลอง ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม ของโรงเรียนพรเจริญวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น 2) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที แบบ Dependent Samples และ Independent Samples 

ผลการวิจัยพบว่า

1. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น และแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.70/86.86 และ79.74/83.47 ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่กำหนดไว้

2. ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

3. ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

4. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

5. ความพึงพอใจ กลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น มีความพึงพอใจสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Abstract

The purposes of this study were 1) to develop the learning activities entitled “Structures and Functions of Flowering Plants” for Mathayom Suksa 5 using lesson plans based on 7E’s Learning Cycle and the Constructivist Theory Learning activities to contain the efficiency of 75/75, 2) to compare critical thinking abilities and learning achievements of Mathayom Suksa 5 students who learnt through 7E’s Learning Cycle activities with those who learnt through Constructivism Theory activities, 3) to compare Mathayom Suksa 5 students’ critical thinking abilities and learning achievements possessed before and after learning through the activities based on 7E’s Learning Cycle, 4) to compare Mathayom Suksa 5 students’ critical thinking abilities and learning achievements gained before and after learning through the activities based on the Constructivist Theory, and 5) to compare Mathayom Suksa 5 students’ satisfaction of learning through the activities based on 7E’s Learning Cycle and Constructivist Theory. Obtained by cluster random sampling, the subjects were 80 Mattayom Suksa 5 students who were studying in the first semester of 2016 academic year at Porncharoenwittaya School under the Office of Secondary Educational Service Area 21. They were subdivided into 2 experimental groups comprising 40 students in each group. The instruments included 1) lesson plans based on 7E’s Learning Cycle activities, 2) lesson plans based on Constructivist Theory, 3) the test to measure the students’ critical thought, 4) achievement test, and 5) a questionnaire to explore the student’ satisfaction of learning. The statistics used for data analysis were mean, standard deviation, t-tests (Dependent and Independent Samples).

The study revealed the following results:

1. The learning activities entitled “Structures and Function of Flowering Plants” for Mattayom Suksa 5 using lesson plans based on 7E’s Learning Cycle and the Constructivist Theory Learning Activities contained The efficiency of 81.70/86.86 and 79.74/83.47 which were higher than the set criteria of 75/75.

2. The critical thought of Mattayom Suksa 5 students who studied through 7E’s Learning Cycle was significantly different from the critical thought of Mattayom Suksa 5 students who studied through Constructivist Theory Activities at .05 statistical level. However, the learning achievement of Mattayom Suksa 5 students Who studied through 7E’s Learning Cycle was not different from the learning achievement of Mattayom Suksa 5 students who studied through Constructivist Theory Activities.

3. After Mattayom Suksa 5 students had learnt through the activities based on 7E’s Learning Cycle, their critical thought  and achievement were significantly higher than those of before at .05 statistical level.

4. After Mattayom Suksa 5 students had learnt through the activities based on Constructivist Theory, their critical thought and achievement were significantly higher than those of before at .05 statistical level.

5. The satisfaction of students who learnt through the activities based on 7E’s Learning Cycle was not Significantty from those learnt through the activities based on Constructivist Theory.

คำสำคัญ

การคิดอย่างมีวิจารณญาณ, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, วัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น, ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์

Keyword

Critical thinking, Learning Achievement, 7E’s Learning Cycle, Constructivist Theory
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 6

วันนี้: 828

เมื่อวานนี้: 705

จำนวนครั้งการเข้าชม: 794,828

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033