บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แฟ้มสะสมผลงานดีเด่น รายวิชาศิลปะ (ทัศนศิลป์) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หลังการจัดการเรียนรู้เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม 3) เปรียบเทียบความสามารถในการจัดทำแฟ้มสะสมผลงานดีเด่นของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้ เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนโดยใช้แฟ้มสะสมผลงานดีเด่น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนแวงพิทยาคม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 40 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบประเมินความสามารถการจัดทำแฟ้มสะสมผลงานดีเด่น และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มเดียวเทียบกับเกณฑ์ (One sample t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แฟ้มสะสมผลงานดีเด่น รายวิชาศิลปะ (ทัศนศิลป์) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.05/85.00 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ 75/75 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังการเรียนโดยใช้แฟ้มสะสมผลงานดีเด่น สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ความสามารถในการจัดทำแฟ้มสะสมผลงานของนักเรียนที่เรียนโดยใช้แฟ้มสะสมผลงานดีเด่น สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แฟ้มสะสมผลงานดีเด่นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.37, S.D. = 0.52)
Abstract
The purposes of this research were 1) to develop a learning portfolio-utilized management for the Arts Subject (Visual Arts) for Mathayomsuksa 5 students to achieve the efficiency of 75/75, 2) to compare students’ learning achievement after the intervention to meet the specified criteria of 75 percent of the full scores, 3) to compare students' ability in creating portfolios after the intervention to meet the specified criteria of 75 percent of the full scores, and 4) to explore the students’ satisfaction toward learning using portfolios. The sample, obtained through cluster random sampling, consisted of 40 Mathayomsuksa 5 students from Waengpittayakom School under the Secondary Educational Service Area Office Sakon Nakhon in the first semester of the 2023 academic year. The research instruments included: 1) lesson plans, 2) a learning achievement test, 3) a form assessing an ability in creating portfolios, and 4) a set of questionnaires measuring student satisfaction toward learning. Statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation, the efficiency values of E1/E2, and one sample t-test. The findings were as follows: 1. The lesson plans using portfolios for the Arts Subject (Visual Arts) for Mathayomsuksa 5 students met the efficiency criteria of 80.05/85.00, which was higher than the defined criteria of 75/75. 2. The students’ learning achievement after learning through portfolio utilization was higher than the specified criteria of 75 percent at the .01 level of significance. 3. The students’ ability in creating portfolios after learning through portfolio utilization was higher than the specified criteria of 75 percent at the .01 level of significance. 4. The students’ satisfaction with learning through portfolio utilization was overall at a high level ( = 4.37, S.D. = 0.52).
คำสำคัญ
การจัดการเรียนรู้โดยใช้แฟ้มสะสมผลงานดีเด่น, ศิลปะ, ทัศนศิลป์Keyword
Learning Portfolio-Utilized Management, Arts Subject, Visual Artsกำลังออนไลน์: 19
วันนี้: 496
เมื่อวานนี้: 873
จำนวนครั้งการเข้าชม: 968,485
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033