บทคัดย่อ
ในปัจจุบันนับได้ว่าเป็นยุคดิจิทัล การขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีถือเป็นเรื่องที่สำคัญ ผู้บริหารสถานศึกษามีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทางการบริหาร รวมถึงการสนับสนุนครู และบุคลากรทางการศึกษา ให้ดำเนินการบรรลุผลตามเป้าหมาย ผู้บริหารจึงจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีการสื่อสารและเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เพื่อที่เลือกใช้กับการบริหารสถานศึกษาให้ได้อย่างเหมาะสม คุ้มค่าและเพียงพอต่อการใช้งาน ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องแสดงศักยภาพทางด้านการบริหารและจัดสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ของสถานศึกษาให้มีความทันสมัย เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ในบทความนี้จึงนำแนวทางการพัฒนาสมรรถนะด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ ยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ในโรงเรียนโครงการกองทุนการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้ในสถานศึกษา จะช่วยอำนวยความสะดวก ยกระดับความสามารถในการจัดการศึกษาและส่งเสริมผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งนอกจากจะมีผลต่อภาพลักษณ์ของสถานศึกษาในชุมชนแล้วยังจะทำให้สถานศึกษาเป็นที่ไว้วางใจของชุมชน ผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัลจึงจำเป็นต้องทราบสมรรถนะด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศยุคดิจิทัล ที่ผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัลควรมี เพื่อนํามาประยุกต์ใช้กับบริบทของสถานศึกษาในระบบการบริหารงานด้านต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น และสร้างสถานศึกษาที่มีคุณภาพในยุคดิจิทัล แนวทางการพัฒนาสมรรถนะด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนโครงการกองทุนการศึกษา เป็นวิธีการในการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยผู้บริหารสถานศึกษาต้องมีสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหาร 3 ด้าน คือ ด้านวิสัยทัศน์ ด้านกลยุทธ์ และด้านการส่งเสริมสนับสนุน ซึ่งแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ในโรงเรียนโครงการกองทุนการศึกษาต้องมีการบูรณาการสมรรถนะของผู้บริหารกับการบริหารงานทั้ง 4 ฝ่าย ซึ่งได้แก่ 1) การบริหารงานวิชาการ 2) การบริหารงบประมาณ 3) การบริหารงานบุคคล และ 4) การบริหารทั่วไป ในการบริหารงานทั้ง 4 ฝ่ายนั้น จะต้องดำเนินงานในการจัดเก็บข้อมูลด้วยโปรแกรมต่าง ๆ อย่างเป็นระบบมีระเบียบ ครอบคลุม ทำให้มีประสิทธิภาพในการทำงานได้อย่างรวดเร็ว มีความผิดพลาดน้อย ก้าวทันต่อยุคดิจิทัล
Abstract
In the contemporary era, the digital age is prominently shaping technological transformations. This evolving technology is deemed crucial, and school administrators play a vital role in steering administrative directions and supporting teachers and educational personnel to achieve organizational goals. Hence, administrators must possess knowledge and understanding regarding communication technology and computer technology to select and deploy them in educational institutions with appropriateness, worthiness, and adequacy for performing tasks. School administrators must demonstrate capability in both managerial and environmental aspects of educational institutions, ensuring that these establishments remain contemporary and adaptable to technological advancements. In this article, guidelines for developing competencies in Information Technology (IT) management in the digital era for school administrators in the Educational Fund Project Schools under the Office of the Basic Education Commission are presented. The integration of digital technology in schools not only facilitates but also elevates the ability to manage education effectively, and promote continuous learning for learners. This not only impacts the school’s image but also the establishment of trust within communities. Digital-era school administrators must be aware of the competencies required in managing IT in the digital era, which should be applied in the context of school management systems. This ensures increased efficiency and effectiveness in various administrative tasks, creating a quality educational institution in the digital era. The guidelines for developing competencies in IT management in the digital era of school administrators in the Educational Fund Project Schools serve as approaches for IT management. Hence, school administrators must possess IT competencies across three aspects: Vision, Strategies, and Promotion and Support. The administrators’ competencies must be effectively integrated into all four school administrative tasks, namely 1) academic affairs administration, 2) budget administration, 3) personnel administration, and 4) general administration. All four administrative tasks must operate systematic and organized data collection using various programs, ensuring efficiency in task performance with minimal errors, and keeping pace with the rapid changes in the digital era.
คำสำคัญ
สมรรถนะด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศยุคดิจิทัล, ผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนโครงการ, กองทุนการศึกษาKeyword
Competencies in IT Management in the Digital Era, School Administrators, Educational Fund Project Schoolsกำลังออนไลน์: 35
วันนี้: 764
เมื่อวานนี้: 873
จำนวนครั้งการเข้าชม: 968,753
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033