บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา รายวิชาชีววิทยา 1 ระหว่างการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานกับการสอนแบบปกติ 2) เปรียบเทียบระดับแรงจูงใจในการเรียนของนักศึกษา รายวิชาชีววิทยา 1 ระหว่างการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานกับการสอนแบบปกติ และ 3. ประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน ในการเรียนรายวิชาชีววิทยา 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาชีววิทยา 1 ในภาคเรียนที่ 1/2565 จำนวน 120 คน ที่ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) และการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 60 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 60 คน กลุ่มทดลองศึกษาวิชาชีววิทยา 1 ผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ผสมผสานกับการสอนแบบปกติ ในขณะที่กลุ่มควบคุมได้รับการสอนแบบปกติเพียงอย่างเดียว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบวัดแรงจูงใจ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความแปรปรวน One Way Anova ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มนักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่ากลุ่มนักศึกษาที่ได้รับการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อวิเคราะห์ด้วย ANOVA (F = 6.253, p < 0.05) ซึ่งบ่งชี้ว่ากลุ่มนักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานสามารถเรียนรู้ได้ดีกว่ากลุ่มนักศึกษาที่ได้รับการสอนแบบปกติ 2. การประเมินแรงจูงใจในการเรียนของนักศึกษา รายวิชาชีววิทยา 1 พบว่า กลุ่มนักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานมีค่าแรงจูงใจในการเรียนสูงกว่ากลุ่มนักศึกษาที่ได้รับการสอนแบบปกติ (t = -6.477, p < 0.05) และ 3. จากการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน พบว่า นักศึกษามีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ( = 4.66, S.D. = 0.26) นอกจากนี้จากการสังเกต พบว่า กลุ่มนักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานสามารถสร้างทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองได้มากกว่ากลุ่มนักศึกษาที่ได้รับการสอนแบบปกติ
Abstract
The purposes of this research were: 1) to compare the learning achievement of students enrolling in a Biology 1 Course using blended instructional management and conventional teaching approach, 2) to compare the learning motivation of students enrolling in a Biology 1 Course through the use of blended instructional management and conventional teaching approach, and 3) to examine the student satisfaction toward the blended instructional management in a Biology 1 Course. The sample group included 120 first-year students from the Faculty of Science and Technology, Nakhon Ratchasima Rajabhat University, enrolling in a Biology 1 Course during the first semester of the 2022 academic year. The cluster sampling and purposive sampling techniques were utilized to select 60 students for the experimental group, engaged in blended learning (computer programs and conventional teaching), and another 60 students for the control group, receiving conventional teaching. The research instruments included 1) lesson plans, 2) a learning achievement test, 3) a motivation assessment form, and 4) a satisfaction questionnaire form. Statistics used in data analysis were mean, standard deviation, and One-Way ANOVA. The research findings were as follows: 1. The analysis of variance (ANOVA) (F = 6.253, p < 0.05) revealed statistically significant differences in learning achievement between the two groups, indicating that students participating in blended instructional management outperformed those in the conventional teaching group. 2. Significant differences were also found in students’ learning motivation (t = -6.477, p < 0.05), indicating that those instructed with blended instructional management demonstrated higher levels of learning motivation compared to the conventional teaching group, and 3) For students' satisfaction analysis, the experimental group was satisfied with the blended instructional management at the highest level ( = 4.66, S.D. = 0.26). Moreover, from observation, students taught by blended instructional management demonstrated self-learning skills compared to the control group.
คำสำคัญ
การจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน, การสอนแบบปกติ, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้, แรงจูงใจในการเรียนKeyword
Blended Instructional Management, Conventional Teaching, Learning Achievement, Learning Motivationกำลังออนไลน์: 20
วันนี้: 839
เมื่อวานนี้: 873
จำนวนครั้งการเข้าชม: 968,828
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033