...
...
เผยแพร่: 29 เม.ย. 2567
หน้า: 198-207
ประเภท: บทความวิจัย
View: 52
Download: 23
Download PDF
ค่ายวิชาการที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์
Academic Camp to Promote the Ability of Mathematical Problem-Solving
ผู้แต่ง
ยุภาดี ปณะราช
Author
Yupadee Panarach

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบค่ายวิชาการที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เจตคติต่อคณิตศาสตร์ และความมุ่งมั่นในการทำงานหลังการเข้าร่วมกิจกรรมค่ายวิชาการ โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย นักศึกษาสาขาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ จำนวน 32 คน ทำหน้าที่ในการพัฒนารูปแบบค่ายวิชาการที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 44 คน เป็นกลุ่มที่ใช้ศึกษาผลจากการจัดค่ายวิชาการ เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ มีคุณภาพด้านความเที่ยงตรงอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 ด้านความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.77 ค่าความยากอยู่ระหว่าง 0.66–0.75 และค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.20–0.27 แบบวัดเจตคติต่อคณิตศาสตร์ มีคุณภาพด้านความเที่ยงตรงอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 ด้านความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85 และแบบวัดความมุ่งมั่นในการทำงาน มีคุณภาพด้านความเที่ยงตรงอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 ด้านความเชื่อมั่นเท่ากับ 088 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบค่ายวิชาการที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เป็นการจัดกิจกรรมที่จัดนอกชั้นเรียน ประกอบด้วย กิจกรรมวิชาการและกิจกรรมนันทนาการ โดยกิจกรรมวิชาการจะเน้นการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้เกม แต่ละกิจกรรมจะเน้นกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ 4 ขั้นตอน ได้แก่ การทำความเข้าใจปัญหา การวางแผนแก้ปัญหา การดำเนินการตามแผน และการตรวจสอบ ส่วนกิจกรรมนันทนาการเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักเรียนเกิดความสนุกสนานในระหว่างการทำกิจกรรมวิชาการ พร้อมมีความกล้าแสดงออก 2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์อยู่ในระดับมากที่สุดร้อยละ 40.91 ระดับมากร้อยละ 43.73 และระดับปานกลางร้อยละ 11.36  3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมีเจตคติต่อคณิตศาสตร์หลังการเข้าร่วมกิจกรรมค่ายวิชาการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก 4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมีความมุ่งมั่นในการทำงานหลังการเข้าร่วมกิจกรรมค่ายวิชาการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก

Abstract

This action research aimed to develop an academic camp model to promote the ability of mathematical problem-solving; and to study the ability of mathematical problem-solving, attitude towards mathematics, and work determination after participating in the academic camp. The target groups consisted of 32 pre-service teachers in Mathematics program who developed the an academic camp model to promote the ability of mathematical problem-solving, and 44 junior high school students were used to study the results of the academic camp. The research instruments included: 1) a mathematical problem-solving ability test which had content validity between 0.67-1.00, reliability equal to 0.77, difficulty between 0.66-0.75, and discrimination between 0.20–0.27; an attitude test towards mathematics which had content validity between 0.67-1.00, and reliability equal to 0.85;  and a work determination test which had content validity between 0.67-1.00, and reliability equl to 0.88. Data were analyzed by percentage, mean, standard deviation, and content analysis.  The research findings indicated that: 1. The academic camp model to promote the ability of mathematical problem-solving was a form of an activity organizing outside the classroom, consisting of academic activities and recreational activities. The academic activities focused on learning mathematics using games. Each activity focused on the 4-step mathematical problem-solving process: understanding the problem, problem solving planning, implementation of the plan, and inspection. Recreational activities were activities that encouraged students to have fun during academic activities and be ready to show courage. 2. The students had the ability of mathematical problem-solving at the highest level of 40.91%, high level of 43.73%, and moderate level of 11.36%. 3. The students had an attitude towards mathematics after participating in academic camp activities overall at a high level. 4. The students had work determination after participating in academic camp activities overall at a high level.

คำสำคัญ

การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์, ค่ายวิชาการ, เจตคติต่อคณิตศาสตร์, ความมุ่งมั่นในการทำงาน

Keyword

Mathematical problem-solving, Academic camp, Attitude towards mathematics, Work determination
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 25

วันนี้: 122

เมื่อวานนี้: 471

จำนวนครั้งการเข้าชม: 825,674

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033