...
...
เผยแพร่: 29 เม.ย. 2567
หน้า: 158-171
ประเภท: บทความวิจัย
View: 47
Download: 132
Download PDF
การศึกษาอนุกรมวิธานของบลูมที่ปรากฏผ่านกลวิธีการตั้งคำถามในกิจกรรมท้ายบท จากหนังสือวรรณคดีวิจักษ์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
The Bloom’s Taxonomy of End-of-Lesson Questions in Literature Textbooks of Basic Thai Courses for Lower Secondary Education (WANNAKADEEWICHAK BOOK)
ผู้แต่ง
ทักษิณ แก้วประเสริฐ และฐาปนา จ้อยเจริญ
Author
Thucksin kaewprasert and Thapana Choicharoen

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์อนุกรมวิธานของบลูมของกลวิธีการตั้งคำถามของกิจกรรมท้ายบท (ชวนคิดพินิจคุณค่า) ในหนังสือวรรณคดีวิจักษ์ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กระทรวงศึกษาธิการ (ประเทศไทย) โดยใช้การวิจัยเอกสาร (Documentary research) ที่มีวิธีดำเนินการวิจัย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นระบุคำถามการวิจัย 2) ขั้นกำหนดและประเมินคุณภาพของเอกสาร 3) ขั้นรวบรวมข้อมูล 4) ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล และ 5) ขั้นสรุปผลการศึกษา เอกสารที่ใช้ในการวิจัย คือ หนังสือวรรณคดีวิจักษ์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 3 เล่ม ผลการวิจัยพบว่า หนังสือเรียนวรรณคดีวิจักษ์ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 3 เล่ม ปรากฏข้อคำถาม จำนวน 261 คำถาม โดยอนุกรมวิธานของบลูม (Bloom’s Taxonomy) ที่ปรากฏผ่านกลวิธีการตั้งคำถามมากที่สุดจนถึงน้อยที่สุดตามลำดับ ได้แก่ 1) การตั้งคำถามระดับเข้าใจ (ความถี่ร้อยละ 34.62) มีกลวิธีการตั้งคำถาม 7 ลักษณะ ได้แก่ คำถามที่ให้สรุปใจความสำคัญ คำถามที่ให้ถอดความ คำถามที่ให้ตีความ คำถามที่ให้รวบรวมข้อมูล คำถามที่ให้ยกตัวอย่าง คำถามที่ให้อธิบายหรือบรรยาย และคำถามที่ก่อให้เกิดชิ้นงาน 2) การตั้งคำถามระดับสร้างสรรค์ (ความถี่ร้อยละ 18.83) มีกลวิธีการตั้งคำถาม 2 ลักษณะ ได้แก่ คำถามที่ให้อภิปรายอย่างอิสระ และคำถามที่ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์ผลงานตามจินตนาการ 3) การตั้งคำถามระดับประเมินค่า (ความถี่ร้อยละ 13.45) มีกลวิธีการตั้งคำถาม 4 ลักษณะ ได้แก่ คำถามที่ให้ประเมินค่าของวรรณกรรม คำถามที่ให้ประเมินค่าของตัวละคร คำถามที่ให้สะท้อนคุณค่าของตนเองร่วมกับวรรณกรรม และคำถามที่ให้ประเมินค่าของบทประพันธ์ 4) การตั้งคำถามระดับจำ (ความถี่ร้อยละ 12.10) มีกลวิธีการตั้งคำถาม 3 ลักษณะ ได้แก่ คำถามที่ให้ระบุคำตอบแบบเจาะจง คำถามที่ให้ระลึกข้อมูล และคำถามที่ให้จัดกิจกรรมทบทวนความจำ 5) การตั้งคำถามระดับวิเคราะห์ (ความถี่ ร้อยละ 12.10) มีกลวิธีการตั้งคำถาม 3 ลักษณะ ได้แก่ คำถามที่ให้จำแนก คำถามที่ให้เปรียบเทียบ และคำถามที่ให้ระบุเหตุผล และ 6) การตั้งคำถามระดับประยุกต์ใช้ (ความถี่ร้อยละ 8.96) มีกลวิธีการตั้งคำถาม 2 ลักษณะ ได้แก่ คำถามที่ให้ประยุกต์วรรณกรรมร่วมกับสถานการณ์ปัจจุบัน และคำถามที่ให้ประยุกต์วรรณกรรมร่วมกับตนเอง

Abstract

The purpose of this research was to analyze Bloom's Taxonomy of end-of-lesson questions in literature textbooks of basic Thai courses for lower secondary education (WANNAKADEEWICHAK BOOK), the Ministry of Education (Thailand). The research was carried out in 5 steps of documentary research methodology which were 1) defining the research question, 2) identifying relevant documents and evaluating the quality of the documents, 3) collecting the documents, 4) organizing the documents, and 5) conclusions. The results found that 3 literature textbooks had 261 questions. The Bloom's taxonomy found in questioning strategies was arranged from highest to lowest as follows: 1) Comprehension level questions (frequency 34.62%) which had 7 types of questioning strategies, including questions to summarize the main idea, questions to paraphrase, questions to interpret, questions to gather information, questions to give examples, questions to explain or describe, and questions to create the work. 2) Synthesis level questions (frequency 18.83%) which had 2 types of questioning strategies, including questions for open-ended discussion, and questions for creating imaginative work. 3) Evaluation level questions (frequency 13.45%) which had 4 types of questioning strategies, including questions to evaluate the value of literature, questions to evaluate the value of characters, questions to reflect on one's values together with literature, and questions to evaluate the value of poetry. 4) Knowledge level questions (frequency 12.10%) which had 3 types of questioning strategies, including questions that require specific answers, questions to recall information, and questions to review memory, 5) Analysis level questions (frequency  12.10%) which had 3 types of questioning strategies, including questions to classify, questions to comparison, and questions to give reasons. And 6) application-level questions (frequency 8.96%) which had 2 types of questioning strategies, including questions to apply literature to the current situation, and questions to apply literature to the readers themselves.

คำสำคัญ

อนุกรมวิธานของบลูม, กลวิธีการตั้งคำถาม, หนังสือวรรณคดี

Keyword

Bloom's Taxonomy, Questioning strategies, Literature textbook
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 10

วันนี้: 96

เมื่อวานนี้: 471

จำนวนครั้งการเข้าชม: 825,648

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033