...
...
เผยแพร่: 29 เม.ย. 2567
หน้า: 139-148
ประเภท: บทความวิจัย
View: 59
Download: 31
Download PDF
การศึกษากระบวนการจัดการเรียนรู้ของครูในสังคมพหุวัฒนธรรม กรณีศึกษา : โรงเรียนชายขอบ จังหวัดบุรีรัมย์
A Study of Learning Management Processes of Teachers in Multicultural Societies: A Case Study of Marginal Schools, Buriram Province
ผู้แต่ง
อรนุช ศรีคำ, ทรรศนันท์ ชินศิริพันธุ์ และชนิสรา ไกรสีห์
Author
Oranut Srikham, Tassanan Chinsiriphan and Chanitsara Kraisee

บทคัดย่อ

การศึกษากระบวนการจัดการเรียนรู้ของครูในสังคมพหุวัฒนธรรม กรณีศึกษาโรงเรียนชายขอบ จังหวัดบุรีรัมย์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้ของครูในสังคมพหุวัฒนธรรม กรณีศึกษาโรงเรียนชายขอบ จังหวัดบุรีรัมย์ 2) พัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ของครูในสังคมพหุวัฒนธรรม กรณีศึกษาโรงเรียนชายขอบ จังหวัดบุรีรัมย์ และ 3) ประเมินผลการจัดการเรียนรู้ของครูในสังคมพหุวัฒนธรรม กรณีศึกษาโรงเรียนชายขอบ จังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มเป้าหมาย คือ ครูในโรงเรียนชายขอบ จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 32 คน จาก 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบ้านกรวด และอำเภอละหานทราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แบบสัมภาษณ์ (2) แบบทดสอบ (3) แบบประเมินโครงการอบรมกระบวนการจัดการเรียนรู้ของครูในสังคมพหุวัฒนธรรม และ (4) แบบประเมินติดตามผลหลังเข้าร่วมโครงการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. จากการศึกษาสภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนของโรงเรียนชายขอบ จังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า มีปัญหาในระดับน้อย โดยสรุปประเด็นปัญหาที่ได้ ดังนี้ 1) การใช้ภาษาในการสื่อสารที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นปัญหาในการสื่อสารในช่วงเปิดเรียนในเทอมแรกสำหรับเด็กปฐมวัยและระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เนื่องจากเป็นโรงเรียนที่มีนักเรียนลูกหลานของแรงงานต่างชาติเรียนอยู่ ทำให้การสื่อสารระหว่างครูที่ใช้ภาษาไทยในการสื่อสารกับเด็กส่วนใหญ่ ทำให้เด็กที่ใช้ภาษาเขมร ลาว ไม่เข้าใจภาษาไทย 2) นักเรียนที่ไม่ได้ผ่านการเรียนในระดับอนุบาล มีพัฒนาการช้ากว่าเพื่อนในห้องเรียน ปัญหานี้เกิดจากการย้ายถิ่นฐานของผู้ปกครอง ซึ่งเป็นแรงงานข้ามชาติ จะมีลักษณะการจ้างงานระยะสั้น ทำให้เมื่อหมดสัญญาต้องย้ายถิ่นที่อยู่เพื่อไปทำงานในจังหวัดอื่น ทำให้นักเรียนต้องย้ายออกจากโรงเรียนเพื่อติดตามผู้ปกครอง และ 3) เด็กปฐมวัยบางคนในเทอมแรกไม่สามารถบอกความต้องการของตนเองได้ เนื่องจากภาษาที่ใช้ต่างกัน จึงทำให้ไม่กล้าพูด ไม่กล้าสื่อสารกับครู และเพื่อน 2. จากการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี มาใช้ประกอบการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ ให้มีความเหมาะสม และส่งผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับพหุวัฒนธรรม บริบทของโรงเรียนชายขอบ และกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่มีความเหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนชายขอบ ได้กระบวนการเรียนการสอนผ่านการปฏิบัติ หรือการลงมือทำ ส่วนผู้สอนทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเป็นผู้ปฏิบัติ ด้วยตนเองโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning อบรมเชิงปฏิบัติการให้ครูที่สอนและมีการติดตามผลการอบรมด้วยการประเมิน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านปฏิกิริยา ด้านการเรียนรู้ (ความรู้) ด้านพฤติกรรม และด้านผลลัพธ์ 3. ผลการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ในสังคมพหุวัฒนธรรม กรณีศึกษาโรงเรียนชายขอบ จังหวัดบุรีรัมย์ ติดตามผลการพัฒนาครู แบ่งเป็น 4 ด้าน พบว่า การประเมินปฏิกิริยาดูจากความคิดเห็นต่อความคิดเห็นเกี่ยวกับการเข้าร่วมโครงการในภาพรวม อยู่ในระดับมาก (\bar{x} = 4.41, S.D. = .720) การประเมินการเรียนรู้ จากการทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ของครูในสังคมพหุวัฒนธรรม ผลการประเมินอยู่ในระดับดีเยี่ยม (ร้อยละ 95.86) การประเมินพฤติกรรม และการประเมินผลลัพธ์ จากการสอบถามความคิดเห็นทั้งสองด้านอยู่ในระดับมาก โดยการประเมินพฤติกรรมมีความคิดเห็นในระดับมาก (\bar{x} = 4.24, S.D. = .601) และการประเมินผลลัพธ์จากการสอบถามความคิดเห็น มีความคิดเห็นในระดับมาก (\bar{x} = 4.41, S.D. = .577)

Abstract

This study focused on investigating the learning management processes of teachers in multicultural societies within Marginal Schools in Buriram Province. The objectives were to 1) examine the problem conditions in teachers’ learning management in multicultural societies within Marginal Schools in Buriram Province, 2) improve the learning management processes of teachers in multicultural societies within Marginal Schools in Buriram Province, and 3) evaluate the learning management processes of teachers in multicultural societies within Marginal Schools in Buriram Province. The target group consisted of 32 teachers in Marginal Schools in Buriram Province, from two districts, namely Ban Kruat and Lahan Sai. Research tools included (1) an interview form (2) a test (3) an assessment form measuring a training project on learning management processes of teachers in multicultural societies, and (4) a follow-up assessment form after the project completion. Statistics for data analysis included percentage, mean, standard deviation, and content analysis. The research results revealed that: 1. The problem conditions associated with teaching and learning within Marginal Schools in Buriram Province were identified, highlighting key issues that were at a low level. These could be summarized as follows: 1) The use of different communication languages led to communication barriers during the first semester for both early childhood and Prathomsuksa 1 students. This is particularly prevalent due to the student population comprising descendants of foreign workers primarily speaking Khmer and Lao. Consequently, miscommunication arises between teachers, who communicate in Thai, and the students, who lack a comprehensive understanding of the Thai language; 2) Students who have not completed kindergarten level demonstrate slower progress compared to their peers in the classroom. This challenge arises due to the migration of migrant parents engaged in short-term or contractual employment. When these contracts expire, necessitating the relocation of their parents to work in other provinces, their children are compelled to discontinue their education and withdraw from schools, and 3) During the first semester, some early childhood face challenges expressing their needs due to the use of different languages; therefore, they experience a reluctance to speak and struggle to communicate with both teachers and peers. 2. The concepts, and theories of multiculturalism for developing learning management processes cooperated were appropriately incorporated, consequently influencing students’ learning effectively and aligning with the context of Marginal Schools. The developed teaching and learning processes, emphasizing practical experience and adopting learning-by-doing approaches, were designed with teachers serving as facilitators, enabling learners to engage in the learning process through hands-on activities and tasks within the framework of the active learning management model. The assessment of the workshop’s implementation for teachers encompassed four key areas: reaction, cognitive learning (knowledge), behaviors, and outcomes. 3. The effects of teacher development on learning management in multicultural societies within Marginal Schools in Buriram Province revealed significant improvements in teacher development across four aspects. Participants’ reactions through feedback on their overall participation in the project were rated at a high level (\bar{x} = 4.41, S.D. = .720). The cognitive test assessing teachers' knowledge and understanding of active learning management in multicultural societies yielded an excellent level of 95.86 percent. Regarding behavioral assessment and outcome evaluation, opinions on both aspects reached high levels (\bar{x} = 4.24, S.D. = .601) for behavioral assessment and a similarly high score (\bar{x} = 4.41, S.D. = .577) for outcome evaluation.

คำสำคัญ

กระบวนการจัดการเรียนรู้, สังคมพหุวัฒนธรรม, โรงเรียนชายขอบ

Keyword

Learning Management Processes, Multicultural Societies, Marginal Schools
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 15

วันนี้: 103

เมื่อวานนี้: 471

จำนวนครั้งการเข้าชม: 825,655

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033