บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบคะแนนทักษะการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนก่อนและหลังการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเกมเป็นฐาน และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเกมเป็นฐาน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้นใช้แบบแผนการทดลองแบบกลุ่มเดียว กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนพระอินทร์ศึกษา (กล่อมสกุลอุทิศ) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 80 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายด้วยวิธีการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเกมเป็นฐานเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงคำนวณ 2) แบบทดสอบวัดทักษะการคิดเชิงคำนวณ มีค่าความเที่ยงตรงอยู่ระหว่าง 0.67–1.00 ค่าความเชื่อมั่น 0.88 และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรงอยู่ระหว่าง 0.67–1.00 ค่าความเชื่อมั่น 0.96 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนหลังการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเกมเป็นฐานอย่างมีนัยทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเกมเป็นฐานอยู่ในระดับมากที่สุด สรุปได้ว่ากิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเกมเป็นฐานช่วยเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงคำนวณ และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเกมเป็นฐานที่พัฒนาขึ้น
Abstract
This research aimed to 1) compare scores of students' computational thinking skills before and after learning with the game-based learning activities, and 2) examine students’ satisfaction with the game-based learning activities. This research utilized a one-group pretest-posttest experimental design with 80 Mathayomsuksa 1 students at Prainsuksa Klomsakul Utid School, in the second semester of the academic year 2022, obtained through simple random sampling. The research instruments consisted of 1) lesson plans based on game-based learning activities to enhance computational thinking skills, 2) a computational thinking skills test with IOC ranging from 0.67 to 1.00 and the reliability of 0.88; and 3) the satisfaction questionnaire utilizing a 5-point rating scale, with IOC ranging from 0.67–1.00 and the reliability of 0.96. The data were analyzed by using mean, standard deviation, and t-test. The results showed that 1) the students’ computational thinking skills after the intervention were higher than those before the intervention at the .05 level of significance, and 2) the students were satisfied with the developed game-based learning activities at the highest level. It could be concluded that game-based learning activities enhanced computational thinking skills, and students expressed positive satisfaction with the developed game-based learning activities.
คำสำคัญ
กิจกรรมการเรียนรู้, การเรียนรู้ด้วยเกมเป็นฐาน, ทักษะการคิดเชิงคำนวณKeyword
Learning Activity, Game-Based Learning, Computational Thinking Skillsกำลังออนไลน์: 25
วันนี้: 778
เมื่อวานนี้: 873
จำนวนครั้งการเข้าชม: 968,767
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033