...
...
เผยแพร่: 29 เม.ย. 2567
หน้า: 107-116
ประเภท: บทความวิจัย
View: 78
Download: 41
Download PDF
ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ SSCS ร่วมกับแบบฝึกทักษะ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณทศนิยม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
The Effect of Learning Management Using SSCS Instructional Model Combined with Skill-Based Exercises on Mathematical Learning Achievement on Decimal Multiplication of Prathomsuksa 5 Students
ผู้แต่ง
ศิริชัย สอนญาติ และนพวรรณ จำนวน
Author
Sirichai Sonyat and Noppawan Jumnuan

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณทศนิยม ของนักเรียน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบ SSCS ร่วมกับแบบฝึกทักษะ และ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณทศนิยม ของนักเรียน ระหว่างนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ SSCS ร่วมกับแบบฝึกทักษะ และนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 2 ห้องเรียน จำนวนทั้งหมด 87 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม และจัดเป็นกลุ่มทดลอง 1 ห้องเรียน จำนวน 44 คน และกลุ่มควบคุม 1 ห้องเรียน จำนวน 43 คน แบบแผนการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบการทดลองก่อนเรียนและหลังเรียนแบบมีกลุ่มควบคุม Randomize Control Group Pretest–Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบไปด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ SSCS ร่วมกับแบบฝึกทักษะ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบปกติ 3) แบบฝึกทักษะ และ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การคูณทศนิยม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Dependent samples t-test และ Independent samples t-test ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนโดยใช้รูปแบบ SSCS ร่วมกับแบบฝึกทักษะ มีค่าเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ SSCS ร่วมกับแบบฝึกทักษะ มีค่าเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Abstract

The purposes of this research were 1) to compare the mathematical learning achievement on decimal multiplication of students before and after learning through the learning management using SSCS instructional model combined with skill-based practices, and 2) to compare the mathematical learning achievement on decimal multiplication between the students learning through the learning management using SSCS instructional model combined with skill-based practices and the students learning through conventional instruction. The study focused on Prathomsuksa 5 students from primary schools in Phra Nakhon Si Ayutthaya province under Phra Nakhon Si Ayutthaya Primary Educational Service Area Office 1, during the first semester of the academic year 2023. The sample comprised two randomly selected classrooms, totaling 87 students, using cluster random sampling, with one assigned as the experimental group (n=44) and the other as the control group (n=43). The research design employed a Randomized Control Group Pretest-Posttest Design. Research instruments included learning management plans using the SSCS instructional model combined with skill-based practices, learning management plans utilizing conventional instruction, skill-based practices, and a learning achievement test on decimal multiplication. Statistical analyses consisted of mean, standard deviation, dependent samples t-test, and independent samples t-test. Research findings indicate that: 1. The students who received the learning management using SSCS instructional model combined with skill-based practices had mathematical learning achievement after the intervention higher than that before the intervention at the .01 level of significance. 2. The students who received the learning management using SSCS instructional model combined with skill-based practices had mathematical learning achievement after the intervention higher than the learning achievement after the intervention of students who received conventional instruction at the .01 level of significance.

คำสำคัญ

รูปแบบ SSCS, แบบฝึกทักษะ, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์

Keyword

SSCS model, Skill-based practice, Mathematical learning achievement
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 19

วันนี้: 110

เมื่อวานนี้: 471

จำนวนครั้งการเข้าชม: 825,662

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033