บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการจัดการเรียนรู้รายวิชาพระพุทธศาสนา โดยใช้หลักไตรสิกขาร่วมกับโยนิโสมนสิการ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ รายวิชาพระพุทธศาสนา โดยใช้หลักไตรสิกขาร่วมกับโยนิโสมนสิการ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ รายวิชาพระพุทธศาสนา โดยใช้หลักไตรสิกขาร่วมกับโยนิโสมนสิการ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 โรงเรียนธาตุนารายณ์วิทยา ภาคเรียนที่ 1ปีการศึกษา 2566 จำนวน 40 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่มโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม (Cluster Random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีชนิดไม่เป็นอิสระต่อกัน (Dependent samples t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้ รายวิชาพระพุทธศาสนา โดยใช้หลักไตรสิกขาร่วมกับโยนิโสมนสิการ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.20/82.56 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ รายวิชาพระพุทธศาสนา โดยใช้หลักไตรสิกขาร่วมกับโยนิโสมนสิการ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ รายวิชาพระพุทธศาสนา โดยใช้หลักไตรสิกขาร่วมกับโยนิโสมนสิการ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.56, S.D. = 0.28)
Abstract
The purposes of this research were to 1) develop learning management of the Buddhism Subject using the threefold training principles with Yonisomanasikarn for Mathayomsuksa 4 students to meet the efficiency according to the criteria of 80/80, 2) compare the students’ learning achievement before and after the intervention, and 3) examine the students’ satisfaction with the developed learning management. The sample group in this research consisted of 40 Mathayomsuksa students from class 4/2 studying at Thatnaraiwittaya School in the first semester of the 2023 academic year. The sample was obtained through cluster random sampling using the classroom as the unit of random sampling. The research instruments included 1) lesson plans, 2) an achievement test, and 3) a student satisfaction questionnaire. Statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation, and Dependent Samples t-test. The research results revealed that 1) the developed learning management achieved the efficiency of 85.20/82.56, which was higher than the established criteria of 80/80, 2) the students’ learning achievement after learning through the developed learning management was at the .01 level of significance, and 3) the students’ satisfaction with the developed learning management was at the highest level ( = 4.56, S.D. = 0.283).
คำสำคัญ
การจัดการเรียนรู้, หลักไตรสิกขา, โยนิโสมนสิการ, รายวิชาพุทธศาสนาKeyword
Learning Management, Threefold Training Principles, Yonisomanasikara, Buddhism Subjectกำลังออนไลน์: 12
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 687
จำนวนครั้งการเข้าชม: 893,751
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033