...
...
เผยแพร่: 29 เม.ย. 2567
หน้า: 39-51
ประเภท: บทความวิจัย
View: 60
Download: 39
Download PDF
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดเชิงวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย ด้วยการจัดการความรู้แบบ TUNA
Development of a Learning Management Model to Promote Analytical Thinking of Early Childhood Using Knowledge Management Based on TUNA Model
ผู้แต่ง
อารีย์ เรืองภัทรนนต์, เกษร ขวัญมา, ชนม์ธิดา ยาแก้ว และฉัตรชัย บุษบงค์
Author
Aree Ruengphattaranon, Keson Khwunma, Chontida Yakaew and Chatchai Busbong

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการความรู้แบบ TUNA และ 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการความรู้แบบ TUNA กลุ่มเป้าหมาย คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี จำนวน 8 คน และเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาล 2-3 โรงเรียนวัดม่วงเจริญผล จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 30 คน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบประเมินการจัดการความรู้แบบ TUNA 2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ TUNA และ 3) แบบประเมินการคิดเชิงวิเคราะห์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t ผลการวิจัยพบว่า 1. คะแนนเฉลี่ยการจัดการความรู้แบบ TUNA ของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ก่อนได้รับความรู้ อยู่ในระดับมาก (\bar{x} = 3.60, S.D. = 0.54) หลังได้รับความรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด (\bar{x} = 4.54, S.D. = 0.57) และคะแนนเฉลี่ยหลังได้รับความรู้สูงกว่าก่อนได้รับความรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ TUNA ที่ส่งเสริมการคิดเชิงวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย ประกอบด้วย 1) หลักการและเหตุผล 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ ด้วยกิจกรรมฐานความรู้ 5 ฐาน ได้แก่ 3.1) ฐานทักษะการคิดและการแก้ปัญหา 3.2) ฐานภาษาและการสื่อสาร 3.3) ฐานคณิตศาสตร์ 3.4) ฐาน Science kids และ 3.5) ฐานศิลปะสร้างสรรค์ 4) บทบาทของผู้สอน 5) บทบาทของผู้เรียน 6) สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ 7) เงื่อนไขปัจจัยสู่ความสำเร็จ และ 8) การวัดและประเมินผล 3. คะแนนเฉลี่ยการคิดเชิงวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยก่อนใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ TUNA อยู่ในระดับปานกลาง (\bar{x} = 2.92, S.D. = 0.60) หลังใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ TUNA อยู่ในระดับมากที่สุด (\bar{x} = 4.52, S.D. = 0.59) และ คะแนนเฉลี่ยการคิดเชิงวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยหลังใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ TUNA สูงกว่าก่อนใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ TUNA อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Abstract

The purposes of this research were to 1) develop a knowledge management model with the TUNA model, and 2) examine the effects after implementing the developed knowledge management model with the TUNA model. The target group, obtained through purposive sampling, consisted of eight third-year students enrolling in the early childhood education program at Suan Dusit University, Suphanburi Campus, and 30 early childhood students, currently studying in kindergarten at levels 2-3 at Wat Muang Charoen Phon School, Suphanburi Province in the first semester of the 2022 academic year. The research instruments comprised: 1) an assessment form measuring knowledge management based on the TUNA model, 2) a learning management model based on the TUNA model, and 3) an assessment form for analytical thinking. The statistics used in this research encompassed mean, standard deviation, and t-test. The research results revealed that: 1. The mean for students in the early childhood education program, concerning knowledge management based on the TUNA model was at a high level before the intervention (\bar{x} = 3.60, S.D. = 0.54) and reached the highest level (\bar{x} = 4.54, S.D. = 0.57) after the intervention. The post-intervention mean showed a significant increase compared to the pre-intervention mean at the .05 level of significance. 2. The learning management model based on the TUNA model for promoting analytical thinking of early childhood students consisted of 1) principles and rationale; 2) objectives; 3) learning management processes, comprising five knowledge-based activities as follows: 3.1) Critical Thinking and Problem-Solving Skills, 3.2) Language and Communication, 3.3) Mathematics, 3.4) Science Kids, and 3.5) Creative Arts; 4) teacher roles, 5) student roles, 6) learning resources, 7) conditional factors leading to success, and 8) measurement and evaluation. 3. The mean on analytical thinking of early childhood students reached a moderate level before the intervention (\bar{x} = 2.92, S.D. = 0.60) and was at the highest level (\bar{x} = 4.52, S.D. = 0.59) after the intervention. The post-intervention mean for analytical thinking among early childhood students was higher than the pre-intervention mean at the .05 level of significance.

คำสำคัญ

รูปแบบการจัดการเรียนรู้, การคิดเชิงวิเคราะห์, การจัดการความรู้แบบ TUNA

Keyword

Learning Management Model, Analytical Thinking, Knowledge Management Based on TUNA Model
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 26

วันนี้: 123

เมื่อวานนี้: 471

จำนวนครั้งการเข้าชม: 825,675

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033