...
...
เผยแพร่: 29 เม.ย. 2567
หน้า: 26-38
ประเภท: บทความวิจัย
View: 64
Download: 22
Download PDF
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิต‍วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนพิบูลมังสาหาร
Developing a Learning Management Model to Enhance the Scientific Mind for Mathayomsuksa 2 Students at Phibunmangsahan School
ผู้แต่ง
วริษฐา สุริยวงศ์
Author
Waristhar Suriyawong

บทคัดย่อ

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิต‍วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนพิบูลมังสาหาร เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการจำเป็นของการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิต‍วิทยาศาสตร์ 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิต‍วิทยาศาสตร์ 3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิต‍วิทยาศาสตร์ และ 4) ประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิต‍วิทยาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการสนทนา แบบสอบถามความคิดเห็น แบบบันทึกผลการออกแบบและวิเคราะห์หลักสูตร แบบประเมินการใช้รูปแบบ แบบวัดจิต‍วิทยาศาสตร์ แบบสอบถามคุณภาพของรูปแบบ และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการจำเป็นของนักเรียน ความต้องการจำเป็นของสังคม และความต้องการจำเป็นของเนื้อหารายวิชา โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (\bar{x} = 4.33, S.D. = 0.48) ส่วนข้อเสนอแนะ คือ ผู้เรียนต้องการเรียนรู้วิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน ครูควรจัดการเรียนรู้อย่างหลากหลาย และอาจสอดแทรกความรู้จากชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น และผู้เรียนนำความรู้ไปปรับใช้ให้มากที่สุด 2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิต‍วิทยาศาสตร์ มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) หลักการ (2) วัตถุประสงค์ (3) ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ แบบ VARICCE Model มี 6 ขั้นตอนหลัก ประกอบด้วย ขั้นที่ 1 เข้าใจคุณค่าของปรากฏการณ์ ขั้นที่ 2 รับรู้ ตอบสนอง ขั้นที่ 3 สืบค้นหาความจริง ขั้นที่ 4 สร้างคุณค่าหาเหตุผล ขั้นที่ 5 ตรวจสอบและประเมิน ขั้นที่ 6 ขยายความรู้สู่การสร้างนิสัย และ (4) ปัจจัยสนับสนุนขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ ซึ่งเป็นกิจกรรมเสริมสร้างจิต‍วิทยาศาสตร์ 4 กิจกรรม ความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนา ความสอดคล้องกับบริบทผู้เรียนและสถานศึกษา และความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยรวมทั้ง 4 องค์ประกอบมีความคิดเห็นในระดับมาก (\bar{x} = 4.25, S.D. = 0.61) 3) การทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ด้านความสนใจ การมีส่วนร่วม และประโยชน์ที่ได้รับ โดยรวมทั้ง 6 ขั้น มีการใช้รูปแบบในระดับมาก (\bar{x} = 4.21, S.D. = 0.60) นักเรียนมีจิต‍วิทยาศาสตร์ในระดับมาก (\bar{x} = 4.04, S.D. = 0.68) 4) คุณภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยรวมมีความคิดเห็นในระดับมาก (\bar{x} = 4.17, S.D. = 0.64) และความพึงพอใจของครูผู้สอนและผู้เรียน ที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยรวมมีความพึงพอใจในระดับมาก (\bar{x} = 4.46, S.D. = 0.64)

Abstract

The development of a learning management model aimed at cultivating the scientific mind among Mathayomsuksa 2 students at Phibunmangsahan School. This research employed a research and development (R&D) with the objectives to 1) examine current conditions, problems, and needs regarding learning management for enhancing students’ scientific mind, 2) develop a learning management model for enhancing students’ scientific mind, and 3) implement the developed learning management model for enhancing students’ scientific mind, and 4) evaluate and improve the developed learning management model for enhancing students’ scientific mind. The sample group consisted of Mathayomsuksa 2 students, science teachers, school administrators, parents, and basic educational institution committee members. Research tools included a questionnaire, an interview form, conversation recordings, an opinion survey, written records on curriculum design and analysis, a model evaluation form, a scientific-mind measurement scale, a model quality questionnaire, and a satisfaction survey. Statistics for data analysis include percentage, mean, standard deviation, and content analysis. The research results revealed that 1) current conditions, problems, and needs faced by students, societal needs, and needs of the course content were overall at a high level (\bar{x} = 4.33, S.D. = 0.48). The recommendations indicate that students express their need to participate in science learning beyond the traditional classroom setting. Teachers are also encouraged to organize various learning approaches, incorporating knowledge from the community and local wisdom; and learners are expected to actively apply their knowledge to the fullest extent; 2) The learning management model for enhancing the scientific mind comprised four elements: (1) principles (2) objectives (3) a learning management model based on the VARICCE Model comprising six main procedures: Step 1 understanding the value of the phenomenon; Step 2 recognizing and responding; Step 3 investigating the truth; Step 4 creating value and rationales; Step 5 examining and evaluating; Step 6. expanding knowledge to cultivate habits, and (4) All four components, including  factors supporting learning management processes with four activities fostering the scientific mind, opinions on development guidelines, the context of learners and educational institutions, and the suitability of the learning management model, achieved a high level (\bar{x} = 4.25, S.D. = 0.61); 3) The implementation of the developed learning management model, comprising all six procedures, received a high rating in terms of interest, participation, and benefits (\bar{x} = 4.21, S.D. = 0.60). Students also gained a high level of scientific mind (\bar{x} = 4.04, S.D. = 0.68); and 4) The quality of the developed learning management model was overall at a high level (\bar{x} = 4.17, S.D. = 0.64), and the satisfaction of teachers and students with the developed learning management model was overall at a high level (\bar{x} = 4.46, S.D. = 0.64).

คำสำคัญ

รูปแบบการจัดการเรียนรู้, จิตวิทยาศาสตร์

Keyword

Learning Management Model, Scientific Mind
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 25

วันนี้: 121

เมื่อวานนี้: 471

จำนวนครั้งการเข้าชม: 825,673

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033