...
...
เผยแพร่: 29 เม.ย. 2567
หน้า: 12-25
ประเภท: บทความวิจัย
View: 82
Download: 40
Download PDF
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนพิบูลมังสาหาร
Development of a Learning Management Model to Promote Mathematical Problem-Solving Skills of Mathayomsuksa 2 Students at Phibunmangsahan School
ผู้แต่ง
เสาวเพ็ญ บุญประสพ
Author
Saowpen Bunprasop

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานของการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ 3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และ 4) ประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ครูผู้สอน และผู้บริหารสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึก การสนทนากลุ่ม แบบประเมินการจัดการเรียนรู้ แบบวัดทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ในด้านการวางแผนจัดการเรียนรู้ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ การบริหารจัดการชั้นเรียน และการวัดและประเมินผู้เรียน โดยรวมทั้ง 4 ด้าน มีการปฏิบัติระดับมาก ผู้เรียนส่วนใหญ่ต้องการเรียนรู้อย่างสนุกสนาน มีเกมและสื่อที่ดึงดูดความสนใจ ครูผู้สอนไม่ควรเน้นแผนการจัดการเรียนรู้และมุ่งผลสัมฤทธิ์มากจนเกินไป ควรบูรณาการคณิตศาสตร์กับชีวิตประจำวัน ปัญหาของการจัดการเรียนรู้ คือ ไม่มีกิจกรรมนอกชั้นเรียน ครูจัดการเรียนรู้ในรูปแบบเดิม คือ ขั้นนำ ขั้นสอน ขั้นสรุป 2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) หลักการ (2) วัตถุประสงค์ (3) ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ แบบ 4SAR Model มี 6 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 สร้างความเข้าใจในสถานการณ์ ขั้นที่ 2 กำหนดแบบแผนการแก้ปัญหา ขั้นที่ 3 คัดสรรวิธีการแก้ปัญหา ขั้นที่ 4 ดำเนินการแก้ปัญหา ขั้นที่ 5 ประเมินผลและประยุกต์ใช้ และขั้นที่ 6 สะท้อนการเรียนรู้และเชื่อมโยง และ (4) ปัจจัยสนับสนุนขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ มี 4 ปัจจัย คือ ปัจจัยที่ 1 ครู ผู้เรียนร่วมสร้างองค์ความรู้ ปัจจัยที่ 2 บูรณาการเนื้อหากับสื่อเทคโนโลยีผนวกวิธีสอน (TPACK) ปัจจัยที่ 3 บริหารจัดการชั้นเรียนแบบมืออาชีพ และปัจจัยที่ 4 เชื่อมโยงสถานการณ์และบริบทชีวิตจริง 3) ผลการสอบถามความคิดเห็นต่อความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และการใช้ประโยชน์ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ผลการประเมินการจัดการเรียนรู้ โดยรวมพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้านความสนใจและความคาดหวัง ด้านความกระตือรือร้นและการตอบสนอง และด้านการมีส่วนร่วมและการนำไปใช้ อยู่ในระดับมาก ผู้เรียนมีทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์อยู่ในระดับมาก 4) คุณภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ทั้ง 4 องค์ประกอบอยู่ในระดับมาก และผู้เรียนมีความพึงพอใจในแง่ประโยชน์ต่อการเรียนรู้ในชั้นเรียน และการนำไปใช้ในสถานการณ์จริงอยู่ในระดับมาก

Abstract

This research was Research and Development (R&D) with the objectives to 1) study basic information on learning management to promote mathematical problem-solving skills, 2) develop a learning management model to promote mathematical problem-solving skills, 3) implement the developed learning management model to promote mathematical problem-solving skills, and 4) evaluate and improve the learning management model to promote mathematical problem-solving skills. The sample group included Mathayomsuksa 2 students, teachers, and school administrators. Research tools included questionnaires, interviews, and focus group recordings, learning management assessment form, mathematics problem solving skills test, and satisfaction questionnaire. Statistics for data analysis were percentage, mean, and standard deviation. The results of the research revealed that: 1) The current conditions concerning the learning management of mathematics teachers in terms of learning management planning, learning management model, classroom management, and learning assessment, were overall at a high level of practice; most students preferred to learn joyfully trough engaging that captured their attention; teachers should not place too much emphasis on learning plans and mathematics achievement, mathematics should be integrated into daily life. The learning management broblems included a lack of activities outside the classroom, teachers often organized learning in the coventional method, with introduction, teaching, and summary. 2) Learning management model to promote mathematical problem solving skills had 4 components: (1) principles; (2) objectives; (3) learning management process using 4SAR model consisting of 6 steps: step 1 Situation definition, step 2 Solution planning, step 3 Selection of solutions, step 4 Solve the problems, step 5 Assess and apply, and step 6 Reflects learning and connects; and (4) factors supporting the learning management process consisting of 4 factors: (1) participation of teachers and students in creating knowledge; (2) integrating content, technology, and pedagogy (TPACK); (3) professional classroom management; and (4) connecting real life situations and contexts. 3) The developed learning management model in terms of suitability, possibility, and utilization was overall at a high level. The results of learning management assessment found that: students’ beavior in terms of interest and expectation, enthusiasm and responsiveness, and participation and application was overall at a high level; students’ mathematical problem-solving skills was at a high level. And 4) the quality of the learning management was at a high level, and the students were satisfied with the benefits of learning in the classroom and application in real situations at a high level.

คำสำคัญ

การพัฒนารูปแบบ, การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์, ทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์

Keyword

Model development, Mathematics learning management, Mathematical problem solving skills
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 22

วันนี้: 115

เมื่อวานนี้: 471

จำนวนครั้งการเข้าชม: 825,667

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033