...
...
เผยแพร่: 28 ธ.ค. 2566
หน้า: 178-186
ประเภท: บทความวิจัย
View: 217
Download: 218
Download PDF
การพัฒนาบทเรียนแบบเทคโนโลยีเสมือนจริง รายวิชากิจกรรมลูกเสือวิสามัญ 1 เพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองไทย สำหรับนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 1
Development of Augmented Reality Lessons in Rover Scout Course 1 Activities to Promote Thai Citizenship for the First Year Vocational Certificate Students
ผู้แต่ง
สุรพิณ ฉั่วเจริญ, จิราภรณ์ เหมพันธ์ และธณัฐชา รัตนพันธ์
Author
Surapin Chuacharean, Chiraporn Hemapandha and Thanatcha Rattanaphant

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของบทเรียนแบบเทคโนโลยีเสมือนจริง รายวิชากิจกรรมลูกเสือวิสามัญ 1 เพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองไทย สำหรับนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 1 ตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาความเป็นพลเมืองไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 1 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อบทเรียนแบบเทคโนโลยีเสมือนจริง ที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาภาวนาโพธิคุณ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2565 สาขาวิชาการอาหารและโภชนาการ จำนวน 30 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชากิจกรรมลูกเสือวิสามัญ 1 เรื่อง รักและศรัทธาสถาบันชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2) บทเรียนแบบเทคโนโลยีเสมือนจริงเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองไทย 3) แบบประเมินตรวจสอบประสิทธิภาพบทเรียน 4) แบบสอบถามความเป็นพลเมืองไทย และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และค่าประสิทธิภาพของบทเรียน ผลการวิจัยพบว่า 1) บทเรียนแบบเทคโนโลยีเสมือนจริง รายวิชากิจกรรมลูกเสือวิสามัญ 1 เพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองไทย สำหรับนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 1 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 91.78/90.67 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ที่ 80/80 2) นักศึกษาที่เรียนด้วยบทเรียนที่พัฒนาขึ้น มีความเป็นพลเมืองไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทั้งในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด และ 3) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อบทเรียนแบบเทคโนโลยี เสมือนจริง รายวิชากิจกรรมลูกเสือวิสามัญ 1 เพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองไทย ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Abstract

The objectives of this research were 1) to develop and examine the efficiency of augmented reality lessons in Rover Scout Course 1 activities to promote Thai citizenship for the first year vocational certificate students as outlined by the 80/80 criteria, 2) to study Thai citizenship in a democratic system with His Majesty the King as Head of State of the first year vocational certificate students, and 3) to examine students’ satisfaction toward learning through the developed augmented reality lessons. The sample consisted of 30 students from Bhavana Bodhigun Vocational College, Vocational Certificate Program, 1st year, academic year 2022, studying in the Food and Nutrition Program, obtained by cluster random sampling. The research instruments were 1) a learning management plan for extracurricular scout activities: 1 Love and Faith in the nation, religion, and monarchy; 2) augmented reality lessons promoting Thai citizenship; 3) a lesson efficiency evaluation form; 4) Thai citizenship assessment questionnaire, and 5) a satisfaction questionnaire. The statistics for data analysis were mean, standard deviation, percentage, and the efficiency of the lessons: E1/E2. The research findings were as follows: 1) The developed augmented reality lessons achieved the efficiency of 91.78/90.67, which was higher than the set criteria of 80/80, 2) the students who learned through the developed augmented reality lessons had Thai citizenship in a democratic system with the King as Head of State at the highest level, both overall and in each aspect, and 3) the overall student satisfaction with the developed augmented reality lessons was at the highest level.

คำสำคัญ

บทเรียนแบบเทคโนโลยีเสมือนจริง, ความเป็นพลเมืองไทย, หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ

Keyword

Augmented reality lessons, Thai citizenship, Vocational Certificate Courses
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 33

วันนี้: 811

เมื่อวานนี้: 873

จำนวนครั้งการเข้าชม: 968,800

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033