บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการจำเป็นในการพัฒนารูปแบบการสอนความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ โดยใช้นิทานภาษาอังกฤษเรื่องชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดร้อยเอ็ด สำหรับนักเรียนในระดับการศึกษาภาคบังคับ ด้วยวิธีการวิจัยแบบผสมผสาน โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน ศึกษานิเทศก์ ครูผู้สอนภาษาอังกฤษในระดับการศึกษาภาคบังคับ จำนวน 232 คน และนักเรียนในระดับการศึกษาภาคบังคับในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 385 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างการวิจัยแบบแบ่งชั้นอย่างเป็นสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามความคิดเห็น เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และ 2) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการสรุปผลเป็นภาพรวมค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีลำดับความสำคัญของการหาความต้องการจำเป็น (Priority Needs Index: PNI) ระหว่างสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่ควรจะเป็นในการพัฒนารูปแบบการสอนความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ และการวิเคราะห์เนื้อหาใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนารูปแบบการสอนความสามารถในการคิดสร้างสรรค์มีค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น ระหว่างสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่ควรจะเป็นในการพัฒนารูปแบบการสอน ทั้ง 2 ด้าน มีความแตกต่างกัน คือ ด้านที่ 1 ความต้องการและความจำเป็นในการพัฒนารูปแบบการสอนความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ โดยใช้นิทานภาษาอังกฤษเรื่องชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดร้อยเอ็ด สำหรับผู้บริหารโรงเรียน ศึกษานิเทศก์ และครูผู้สอนภาษาอังกฤษ โดยรวมมีค่า PIN = 0.28 ในขณะสำหรับนักเรียน โดยรวมมีค่า PIN = 0.31 และด้านที่ 2 ความต้องการและความจำเป็นในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์โดยใช้นิทานภาษาอังกฤษเรื่องชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดร้อยเอ็ด สำหรับผู้บริหารโรงเรียน ศึกษานิเทศก์ และครูผู้สอนภาษาอังกฤษ โดยรวมมีค่า PIN = 0.22 ในขณะสำหรับนักเรียน โดยรวมมีค่า PIN = 0.29 และพบว่า ผู้บริหารโรงเรียน ศึกษานิเทศก์ ครูผู้สอน และนักเรียนจังหวัดร้อยเอ็ด มีความต้องการจำเป็นในการพัฒนารูปแบบการสอนความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ โดยใช้นิทานภาษาอังกฤษเรื่องชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดร้อยเอ็ด สำหรับนักเรียนในระดับการศึกษาภาคบังคับ เนื่องจากเป็นการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้นักเรียนได้สร้างองค์ความรู้ด้วยตัวเองจากการลงมือปฏิบัติ คิดวิเคราะห์ กล้าแสดงออก ส่งเสริมให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน เปิดโอกาสให้ครูผู้สอนได้ใช้สื่อการสอนที่หลากหลายเหมาะกับนักเรียนแต่ละช่วงวัยในลักษณะการจัดการเรียนรู้รูปแบบการผสมผสานเน้นการวัดและการประเมินผลตามสภาพจริง
Abstract
The purpose of this mixed methods research was to explore problems and needs for developing a creative thinking instructional model using English folktales on community and local wisdom of Roi Et Province for students in compulsory education level. The target group, obtained through proportional stratified random, consisted of 232 school administrators, supervisors, and English teachers teaching students in the compulsory education level, and 385 students in compulsory education level in Roi Et province. The research tools included 1) 5-rating scale questionnaires, and 2) a semi-structured interview form. The statistics for data analysis were arithmetic mean, and standard deviation. The Priority Needs Index (PNI) was also employed for investigating the current and expected conditions for developing a creative thinking instructional model. Qualitative data was also analyzed through content analysis. The findings were as follows: The developed instructional model revealed indicated variations in PNI values between actual and expected conditions. In aspect 1, focusing on the need for model development, school administrators, supervisors, and English teachers rated the PNI at 0.28 overall, whereas students rated the PNI at 0.31. In aspect 2, which focused on creative thinking development through the English folktales on community and local wisdom in Roi-Et Province, the overall PNI from the perspective of school administrators, supervisors, and English teachers was 0.22, whereas students rated it at 0.29, overall. The results also demonstrated a need for the developed model among school administrators, supervisors, and English teaches. This is crucial as the implemented learning management was poised to enhance students’ self-construction through learning by doing critical thinking, and self-confidence. Furthermore, it promoted student learning through cooperative learning, encouraged teachers to utilize diverse materials suitable for different age groups, and prioritized authentic assessment.
คำสำคัญ
รูปแบบการสอน, การคิดสร้างสรรค์, นิทานภาษาอังกฤษKeyword
Instructional Model, Creative Thinking, English Folktalesกำลังออนไลน์: 35
วันนี้: 765
เมื่อวานนี้: 873
จำนวนครั้งการเข้าชม: 968,754
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033