...
...
เผยแพร่: 28 ธ.ค. 2566
หน้า: 167-177
ประเภท: บทความวิจัย
View: 88
Download: 29
Download PDF
ผลของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาที่มีต่อทักษะสมอง เพื่อชีวิตที่สำเร็จ (EF) ของเด็กปฐมวัย
The Effects of Learning Experiences Management Based on STEM Education on Executive Function (EF) Skills in Early Childhood
ผู้แต่ง
วราลี รัตนพันธ์, อารี สาริปา และกุสุมา ใจสบาย
Author
Waralee Rattanaphan, Aree Saripa and Kusuma Jaisabuy

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ (EF) ของเด็กปฐมวัยก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แนวสะเต็มศึกษา 2) ประเมินพัฒนาการด้านทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ (EF) ของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กปฐมวัยทั้งชายและหญิง อายุ 5-6 ปี กำลังเรียนในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบ้านคลองเสาเหนือ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 จำนวน 20 คน ได้มาจากวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แนวสะเต็มศึกษาศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย 10 แผน รวม 20 ชั่วโมง 2) แบบประเมินทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ (EF) ของเด็กปฐมวัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มไม่อิสระกัน (Dependent samples t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ (EF) ของเด็กปฐมวัยหลังเรียนด้วยแผนการจัดประสบการณ์แนวสะเต็มศึกษาสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. พัฒนาการด้านทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ (EF) ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่อยู่ในระดับสูงมาก ได้แก่ ทักษะการริเริ่มและลงมือทำ และทักษะการยืดหยุ่นทางความคิด ด้านที่อยู่ในระดับสูง ได้แก่ ทักษะความจำเพื่อใช้งาน ทักษะการยั้งคิดไตร่ตรอง ทักษะการจดจ่อ ใส่ใจ ทักษะการติดตามประเมินตนเอง ทักษะการควบคุมอารมณ์ และทักษะการมุ่งเป้าหมาย และด้านที่อยู่ในระดับกลาง คือ ทักษะการวางแผนจัดระบบดำเนินการ

Abstract

The purposes of this study were: 1) to compare executive function (EF) skills of early childhood before and after the learning experiences management based on STEM education, and 2) to assess executive function (EF) skills development of early childhood who received the learning experiences management based on STEM education. The sample consisted of 20 early childhood, both male and female, between the ages of 5-6 years who were studying in Kindergarten 3 at Ban Khlong Sao Nuea School under Nakhon Sri Thammarat Primary Education Service Area Office 1 in the second semester of the academic year 2022, obtained by cluster random sampling. The research instruments were: 1) 10 lesson plans using STEM learning experiences for early childhood, totaling 20 hours, and 2) a set of EF skills assessment for early childhood. Statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation, and dependent samples t-test. The findings were as follows: 1. The executive function (EF) skills mean of early childhood after the learning experiences management based on STEM education was higher than that before the intervention at the .01 level of significance. 2. The overall executive function (EF) skills development of early childhood after the learning experiences management based on STEM education was at a high level. When considering in each aspect found that the aspects that ranked very high level included initiative and action skills, and cognitive flexibility skills; the aspects that ranked high level included working memory skills, reflective thinking skills, concentration skills, self-assessment monitoring skills, emotional control skills, and targeting skills; and the aspect that ranked intermediate level was the skill of planning and organizing operations.

คำสำคัญ

การจัดประสบการณ์การเรียนรู้, สะเต็มศึกษา, ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ

Keyword

Learning experiences management, STEM education, Executive Function (EF) skills
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 9

วันนี้: 1,087

เมื่อวานนี้: 477

จำนวนครั้งการเข้าชม: 791,136

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033