...
...
เผยแพร่: 28 ธ.ค. 2566
หน้า: 187-196
ประเภท: บทความวิจัย
View: 216
Download: 82
Download PDF
การประเมินหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนบ้านถ้ำผึ้ง อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยใช้รูปแบบซิปเปี้ยสท์
Evaluation of the School-Based Curriculum in Mathematics Learning Substance Group of Banthumpueng School in Phanom District, Surat Thani Province Using CIPPIEST Assessment Model
ผู้แต่ง
พลอยรุ้ง ยิ่งหาญ, ปารุษยา เกียรติคีรี และสิริสวัสช์ ทองก้านเหลือง
Author
Ployrung Yinghan, Parussaya Kiatkheeree and Sirisawas Thongkanluang

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนบ้านถ้ำผึ้ง อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยใช้รูปแบบซิปเปี้ยสท์ ในด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต ที่ประกอบด้วย ด้านผลกระทบ ด้านประสิทธิผล ด้านความยั่งยืน และด้านการถ่ายโยงความรู้ โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 114 คน ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนบ้านถ้ำผึ้ง ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ คณะกรรมการสถานศึกษา นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบบันทึกข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการประเมินด้านบริบท มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมาก (\bar{x}  = 4.46, S.D. = 0.57) ได้แก่ วิสัยทัศน์ พันธกิจ จุดมุ่งหมายของหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โครงสร้างของหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และเนื้อหาของหลักสูตร 2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมาก (\bar{x}  = 4.48, S.D. = 0.59) ได้แก่ คุณสมบัติของผู้บริหาร คุณสมบัติของครูผู้สอน คุณสมบัติของผู้เรียน สื่อ อุปกรณ์การสอน อาคารสถานที่ แหล่งการเรียนรู้ และงบประมาณ 3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมาก (\bar{x} = 4.47, S.D. = 0.60) ได้แก่ การบริหารหลักสูตร การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน การวัดและประเมินผล และการนิเทศติดตามการใช้หลักสูตร 4. ผลการประเมินด้านผลผลิต ประกอบด้วย 4.1 ผลการประเมินด้านผลกระทบ มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (\bar{x} = 4.69, S.D. = 0.34) ได้แก่ ความมีชื่อเสียงของโรงเรียน รางวัล/เกียรติยศ และการยอมรับจากสังคมหรือชุมชน 4.2 ผลการประเมินด้านประสิทธิผล มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมาก (\bar{x} = 4.38, S.D. = 0.69) ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ผ่านเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ผ่านเกณฑ์การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และการเขียน 4.3 ผลการประเมินด้านความยั่งยืน มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (\bar{x} = 4.85, S.D. = 0.36) ได้แก่ นักเรียนนำความรู้ไปปรับหรือบูรณาการกับวิชาอื่นมาใช้ปฏิบัติงานอย่างแท้จริง และนักเรียนนำความรู้หลังจากจบหลักสูตรคณิตศาสตร์ไปใช้ในการศึกษาต่อระดับชั้นที่สูงขึ้น 4.4 ผลการประเมินด้านการถ่ายโยงความรู้ มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (\bar{x} = 4.59, S.D. = 0.58) ได้แก่ นักเรียนสามารถนำทักษะทางคณิตศาสตร์มาใช้ในชีวิตประจำวัน นักเรียนสามารถนำความรู้ทางคณิตศาสตร์ไปใช้ในชุมชนได้

Abstract

The purpose of this research was to evaluate the school-based curriculum in the mathematics learning substance group at Banthumpueng School, Phanom District, Surat Thani Province using CIPPIEST assessment model, regarding context, input, process, and product aspects, consisting of the following components: impact, effectiveness, sustainability, and knowledge transfer. Data was collected from the target group of 114 people, namely administrators of Banthumpueng School, Mathematics teachers, school board committee, parents, and students from Prathomsuksa 4 to Prathomsuksa 6. The research tools included a set of questionnaires, an interview form, and a data record form. Statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation, and content analysis. The research findings were as follows: 1. The context aspect was overall at a high level of appropriateness (\bar{x} = 4.46, S.D. = 0.57). This included the vision, mission, objectives, structure, and content of the mathematics learning substance group curriculum. 2. The input aspect was overall at a high level of appropriateness (\bar{x} = 4.48, S.D. = 0.59). This involved administrators’ qualifications, teachers’ qualifications, learners’ qualifications, media, teaching equipment, buildings, learning resources, and budgets. 3. The process aspect was also overall at a high level of appropriateness (\bar{x} = 4.47, S.D. = 0.60). This included curriculum administration, learning activity management, learner development activities, measurement and evaluation, and supervision and monitoring of curriculum implementation. 4. The product aspect revealed that: 4.1 The impact aspect was overall at the highest level of appropriateness (\bar{x} = 4.69, S.D. = 0.34). This involved school reputation, awards/honors, and social or community recognition. 4.2 The effectiveness aspect was overall at a high level of appropriateness (\bar{x} = 4.38, S.D. = 0.69). This involved passing the mathematics learning achievement criteria set by educational institutions, aligning with students’ desirable characteristics, and meeting criteria in reading, critical thinking, and writing. 4.3 The sustainability aspect demonstrated the highest level of appropriateness (\bar{x} = 4.85, S.D. = 0.36). This encompassed student applying knowledge to adapt or integrate with other subjects, as well as applying acquired knowledge after completing the mathematics subject. 4.4 The knowledge transfer assessment yielded the highest level of appropriateness (\bar{x} = 4.59, S.D. = 0.58). This included students applying mathematics skills to everyday life, and utilizing mathematical knowledge for the community.

คำสำคัญ

การประเมินหลักสูตรสถานศึกษา, กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์, รูปแบบซิปเปี้ยสท์

Keyword

School Curriculum Assessment, Mathematics Learning Substance Group, CIPPIEST Model
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 9

วันนี้: 857

เมื่อวานนี้: 477

จำนวนครั้งการเข้าชม: 790,906

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033