...
...
เผยแพร่: 28 ธ.ค. 2566
หน้า: 50-63
ประเภท: บทความวิจัย
View: 107
Download: 53
Download PDF
การพัฒนาชุดการสอนคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก การลบ การคูณ และการหารเศษส่วน โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับกลวิธี STAR สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
Development of Mathematics Instructional Packages on Addition, Subtraction, Multiplication, Division, and Fractions Using STAD Cooperative Learning with STAR Strategy for Prathomsuksa 5 Students
ผู้แต่ง
ชรินทา ธรรมจิตร์, พัทธนันท์ ชมภูนุช และธนานันต์ กุลไพบุตร
Author
Charintha Thammajit, Phattanun Chomphunut and Thananun Kunpaibutr

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดการสอนคณิตศาสตร์โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับกลวิธี STAR สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) พัฒนาชุดการสอนคณิตศาสตร์ให้มีประสิทธิผลตามเกณฑ์ดัชนีประสิทธิผลมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 50 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดการสอนคณิตศาสตร์ 4) เปรียบเทียบทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดการสอนคณิตศาสตร์ 5) ศึกษาพฤติกรรมความร่วมมือของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการสอนคณิตศาสตร์ และ 6) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดการสอนคณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนบ้านศิริพัฒน์ จำนวน 14 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) ชุดการสอนคณิตศาสตร์โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับกลวิธี STAR 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบทดสอบวัดทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ 4) แบบวัดพฤติกรรมความร่วมมือ และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t-test ชนิด Dependent Samples ผลการวิจัยพบว่า 1. ชุดการสอนคณิตศาสตร์โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับกลวิธี STAR มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.17/80.83 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่ตั้งไว้ 2. ชุดการสอนคณิตศาสตร์ที่พัฒนาขึ้น มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.74 คิดเป็นร้อยละ 74 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 50 ที่ตั้งไว้ 3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยชุดการสอนคณิตศาสตร์โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับกลวิธี STAR สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. ทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียนด้วยชุดการสอนคณิตศาสตร์โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับกลวิธี STAR สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 5. พฤติกรรมความร่วมมือของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการสอนคณิตศาสตร์โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับกลวิธี STAR โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (\bar{x} = 2.49, S.D. = 0.61) 6. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดการสอนคณิตศาสตร์โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับกลวิธี STAR โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (\bar{x} = 4.33, S.D. = 0.61)

Abstract

The purposes of this research were 1) to develop mathematics instructional packages using STAD cooperative learning with STAR strategy to reach the criteria of 75/75, 2) to develop the mathematics instructional packages to meet the effectiveness index of 50 percent or above, 3) to compare the students’ learning achievement before and after the intervention, 4) to compare the students’ problem-solving skills before and after the intervention, 5) to examine students’ cooperative behaviors after the intervention, and 6) to explore the student’s satisfaction toward learning through the developed mathematics instructional packages. The sample, obtained through cluster random sampling, was a class of 14 Prathomsuksa 5 students at Siriphat School in the first semester of the 2023 academic year. The instruments consisted of 1) mathematics instructional packages based on STAD cooperative learning with STAR strategy, 2) a learning achievement test, 3) a problem-solving skills test, 4) an assessment form of cooperative behaviors, and 5) a satisfaction questionnaire. Statistics included frequency, percentage, mean, standard deviation, and Dependent Samples t-test. The findings were as follows: 1. The efficiency of mathematical instructional packages using STAD cooperative learning with STAR strategy was 80.17/80.83, which was higher than the specified criteria of 75/75. 2. The effectiveness index of the developed mathematical instructional packages was 0.74 or 74 percent which met the defined criteria at the 50 percent or above. 3. The students’ learning achievement after the intervention was higher than that before the intervention at the .01 level of significance. 4. The students’ problem-solving skills after the intervention was higher than that before the intervention at the .01 level of significance. 5. The students’ cooperative behaviors with learning through the developed mathematical instructional packages was at a high level (\bar{x} = 2.49, S.D. = 0.61). 6. The students’ satisfaction with learning through the developed mathematical instructional packages was at a high level (\bar{x} = 4.33, S.D. = 0.61).

คำสำคัญ

ชุดการสอนคณิตศาสตร์, การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD, กลวิธี STAR

Keyword

Mathematics Instructional Packages, STAD Cooperative Learning, STAR Strategy
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 10

วันนี้: 1,014

เมื่อวานนี้: 477

จำนวนครั้งการเข้าชม: 791,063

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033