...
...
เผยแพร่: 28 ธ.ค. 2566
หน้า: 156-166
ประเภท: บทความวิจัย
View: 123
Download: 34
Download PDF
การพัฒนาการคิดเชิงสังเคราะห์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานตามแนวคิดสะเต็มศึกษา โรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี
Synthetic Thinking Development of Early Childhood Using Project-based Learning Based on STEM Education Concepts under Suphanburi Municipality Schools
ผู้แต่ง
เกษร ขวัญมา, ชนม์ธิดา ยาแก้ว, ศศิพัน เปี๊ยนเปี่ยมสิน และวิณาภรณ์ แตงจุ้ย
Author
Kesorn Khwunma, Chontida Yakaew, Sasipun Pianpiamsin and Winaphorn Tangjui

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบการคิดเชิงสังเคราะห์ของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานตามแนวคิดสะเต็มศึกษา 2) เปรียบเทียบการคิดเชิงสังเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานตามแนวคิดสะเต็มศึกษา กับเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ กลุ่มตัวอย่างคือเด็กปฐมวัยทั้งชายและหญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นอนุบาล 3 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนเทศบาล 3 วัดไชนาวาส จำนวน 60 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster random sampling) โดยกลุ่มทดลองเป็นเด็กปฐมวัยระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3/1 จำนวน 30 คน และกลุ่มควบคุมเป็นเด็กปฐมวัยระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3/2 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานตามแนวคิดสะเต็มศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย จำนวน 24 กิจกรรม 2) แบบทดสอบการคิดเชิงสังเคราะห์สำหรับเด็กปฐมวัย สถิตที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบกลุ่มไม่อิสระกัน (Dependent samples t-test) และการทดสอบค่าทีแบบสองกลุ่มอิสระกัน (Independent samples t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) การคิดเชิงสังเคราะห์ของเด็กปฐมวัยกลุ่มทดลอง หลังการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานตามแนวคิดสะเต็มศึกษา สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 2) การคิดเชิงสังเคราะห์ของเด็กปฐมวัยกลุ่มทดลอง หลังการได้รับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานตามแนวคิดสะเต็มศึกษา สูงกว่าเด็กปฐมวัย กลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Abstract

The purposes of this research were to 1) compare the synthetic thinking of early childhood before and after using project-based learning management based on STEM education concepts, and 2) compare the synthetic thinking of early childhood receiving project-based learning management based on STEM education concepts with those of early childhood receiving conventional learning management. The sample consisted of 60 early childhood, both male and female, between the ages of 5-6 years who were studying in Kindergarten 3 at Municipal School 3, Wat Chinvas, academic year 2019, obtained through cluster random sampling. The experimental group consisted of 30 early childhood in Kindergarten class 3/1 and the control group consisted of 30 early childhood in Kindergarten class 3/2. The research instruments were 1) project-based learning activity plans based on STEM education concepts for early childhood, totaling 24 activities, and 2) synthetic  thinking test for early childhood. The statistics for data analysis were mean, standard deviation, dependent samples t-test, and independent samples t-test. The findings were as follows: 1) The synthetic thinking of early childhood in the experimental group after receiving project-based learning management based on STEM education concepts was higher than that before the learning management at the .01 level of significance, and 2) the synthetic thinking of early childhood in the experimental group after receiving project-based learning management based on STEM education concepts was higher than that of early childhood in control group receiving conventional learning management at the .01 level of significance.

คำสำคัญ

การคิดเชิงสังเคราะห์ของเด็กปฐมวัย, การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน, สะเต็มศึกษา

Keyword

Synthesis thinking of early childhood, Project-based learning, STEM education
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 18

วันนี้: 730

เมื่อวานนี้: 477

จำนวนครั้งการเข้าชม: 790,779

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033