บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD ร่วมกับเทคนิค KWDL เรื่อง การบวก ลบ คูณ หารระคน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามเกณฑ์มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 50 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 4) ศึกษาพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียน และ 5) เปรียบเทียบเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนคณิตศาสตร์ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านนาเหว่อโนนอุดม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 25 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม และ 4) แบบวัดเจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (Dependent samples t–test) ผลการวิจัยพบว่า 1. ประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่พัฒนาขึ้น เท่ากับ 76.53/78.20 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ 75/75 2. ดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่พัฒนาขึ้น เท่ากับร้อยละ 61.07 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ที่มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 50 3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. พฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่พัฒนาขึ้น อยู่ในระดับมาก ( = 4.45, S.D. = 0.36) 5. เจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Abstract
The purposes of this research were to 1) develop mathematical learning activities using the STAD cooperative learning instructional model with KWDL technique on combined addition, subtraction, multiplication, and division for Prathomsuksa 2 students to meet the efficiency of 75/75, 2) determine the effectiveness index of the developed mathematical learning activities with the standard criteria at the 50 percent or above, 3) compare students’ learning achievement before and after the intervention, 4) examine the group work behaviors of students, and 5) compare students' attitude toward learning mathematics before and after the intervention. The sample consisted of 25 Prathomsuksa 2 students in the second semester of the 2019 academic year at Bannawernonudom School, selected through cluster random sampling. The research instruments included 1) lesson plans, 2) an achievement test, 3) an observation form concerning group work behaviors, and 4) a scale for measuring students’ attitude toward learning mathematics. The statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation, and dependent samples t-test. The findings were as follows: 1. The efficiency of the developed mathematical learning activities was 76.53/78.20, which was higher than the defined criteria of 75/75. 2. The effectiveness index of the developed mathematical learning activities was 61.07 percent, which achieved the defined criteria of 50 percent or above. 3. The students’ learning achievement after the intervention was higher than that before the intervention at the .01 level of statistical significance. 4. After the intervention, students’ group work behavior was at a high level ( = 4.45, S.D. = 0.36). 5. The students’ attitude toward learning mathematics after the intervention was higher than that before the intervention at the .01 level of statistical significance.
คำสำคัญ
กิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์, การเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD, เทคนิค KWDLKeyword
Learning mathematical activities, STAD cooperative learning instructional model, KWDL techniqueกำลังออนไลน์: 28
วันนี้: 445
เมื่อวานนี้: 1,300
จำนวนครั้งการเข้าชม: 971,480
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033