...
...
เผยแพร่: 28 ธ.ค. 2566
หน้า: 97-107
ประเภท: บทความวิจัย
View: 154
Download: 219
Download PDF
การวิเคราะห์องค์ประกอบโมเดลการวัดความสามารถของครูด้านการบูรณาการความรู้ ตามกรอบแนวคิดความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยี (TPACK) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2
The Factor Analysis of Teachers’ Competency Measurement Model in Knowledge Integration Based on the Conceptual Framework of Technological, Pedagogical, and Content Knowledge (TPACK) in Buriram Primary Education Service Area Office 2
ผู้แต่ง
นนท์ชนก ภูมิประโคน, กระพัน ศรีงาน และสุชาติ หอมจันทร์
Author
Nonchanok Phumprakhon, Krapun Sringarn and Suchart Homjan

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาระดับความสามารถของครูด้านการบูรณาการความรู้ตามกรอบแนวคิดความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยี (TPACK) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 และ 2) วิเคราะห์องค์ประกอบโมเดลการวัดความสามารถ ของครูด้านการบูรณาการความรู้ตามกรอบแนวคิดความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยี (TPACK) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอนระดับประถมศึกษาที่สังกัดในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 จำนวน 350 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความสามารถด้านการบูรณาการความรู้ผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยี (TPACK) ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis: CFA) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของระดับความสามารถของครูด้านการบูรณาการความรู้ตามกรอบแนวคิดความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยี (TPACK) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 ที่มีค่ามากที่สุด ได้แก่ ด้านความรู้ในเนื้อหา (Content Knowledge : CK) อยู่ในระดับมาก (Mean = 4.11, S.D. = .77) รองลงมา คือ ด้านความรู้ด้านวิชาครู (Pedagogical Knowledge : PK) อยู่ในระดับมาก (Mean = 4.08, S.D. = .69) และด้านเทคโนโลยี (TK) อยู่ในระดับมาก (Mean = 3.83, S.D. = .92) ตามลำดับ 2. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของโมเดลการวัดความสามารถของครูด้านการบูรณาการความรู้ตามกรอบแนวคิดความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยี (TPACK) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์

Abstract

The purposes of this research were 1) to study the level of teachers’ competency in knowledge integration based on the conceptual framework of Technological, Pedagogical, and Content Knowledge (TPACK) in Buriram Primary Educational Service Area Office 2; and 2) to analyze the factors of the teachers’ competency measurement model in knowledge integration based on the conceptual framework of Technological, Pedagogical, and Content Knowledge (TPACK) in Buriram Primary Educational Service Area Office 2. The sample was 350 primary education teachers in Buriram Primary Educational Service Area Office 2. The research instrument was a set of  questionnaires to assess teachers’ competency based on the conceptual framework of TPACK model.  Statistics used to analyze the data included percentage, mean, standard deviation, and confirmatory factor analysis (CFA). The results showed that 1. Based on the TPACK conceptual framework, the results of a mean and standard deviation analysis of teachers' competency indicated that Content Knowledge (CK) was the most outstanding context with a high level (Mean = 4.11, S.D. = .77), followed by Pedagogical Knowledge (PK) with a high level (Mean = 4.08, S.D. = .69), and Technological Knowledge (TK) with a high level (Mean = 3.83, S.D. = .92), respectively. 2. Regarding the confirmatory factor analysis of the teachers’ competency measurement model in knowledge integration based on the conceptual framework of Technological, Pedagogical, and Content Knowledge (TPACK) in Buriram Primary Educational Service Area Office 2, the developed model fitted the empirical data.

คำสำคัญ

การบูรณาการเทคโนโลยีกับวิธีสอนและเนื้อหา (TPACK), โมเดลวัดความสามารถของครู, ครูผู้สอน

Keyword

Integrating Technology with Teaching Methods and Content (TPACK), Teacher competency measurement model, Teacher
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 18

วันนี้: 408

เมื่อวานนี้: 1,300

จำนวนครั้งการเข้าชม: 971,443

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033