...
...
เผยแพร่: 28 ธ.ค. 2566
หน้า: 74-82
ประเภท: บทความวิจัย
View: 83
Download: 38
Download PDF
การพัฒนาทักษะการใช้โปรแกรม Scratch ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน ร่วมกับเทคนิคการใช้ผังกราฟิก
Developing Scratch Skills of Prathomsuksa 6 Students by Organizing Project–Based Learning Management with Graphic Diagram Techniques
ผู้แต่ง
ปภัสรา เวียงใต้ และพรชัย ผาดไธสง
Author
Papatsara Wiangtai and Phornchai Phardthaisong

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน ร่วมกับเทคนิคการใช้ผังกราฟิก ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบทักษะการใช้โปรแกรม Scratch ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน ร่วมกับเทคนิคการใช้ผังกราฟิกกับเกณฑ์ร้อยละ 75 และ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน ร่วมกับเทคนิคการใช้ผังกราฟิก กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านขี้เหล็กซ้ายดอนแตง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 12 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ การเขียนโปรแกรม Scratch ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน ร่วมกับเทคนิคการใช้ผังกราฟิก (2) แบบทดสอบวัดทักษะการใช้โปรแกรม Scratch และ (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที One Sample t–test และ t-test (Dependent Samples) ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานร่วมกับเทคนิคการใช้ผังกราฟิก ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ 88.85/93.50 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน ร่วมกับเทคนิคการใช้ผังกราฟิก มีทักษะการใช้โปรแกรม Scratch หลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 76.67 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 ที่กำหนดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน ร่วมกับเทคนิคการใช้ผังกราฟิก มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Abstract

The purposes of this research were 1) to develop a project-based learning management integrated with graphic diagram techniques following the criteria of 80/80, 2) to compare with Prathomsuksa 6 students’ skills required for programming by using the Scratch program through the developed project-based learning management integrated with graphic diagram techniques, with the criteria of 75 percent, and 3) to compare the student’s academic achievement before and after the intervention. The sample group, obtained through cluster random sampling, consisted of 12 students from Prathomsuksa 6 at Bankheeleksaidontaeng School in the first semester of the 2023 academic year. The research instruments included: (1) lesson plans of a learning unit entitled Scratch Programming based on project-based learning management integrated with graphic diagram techniques, (2) a test to assess students’ skills required for programming with the Scratch program, and (3) a learning achievement test. The statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation, One Sample t-test, and t-test (Dependent Samples). The research results were as follows: 1) The project-based learning management integrated with graphic diagram techniques for Prathomsuksa 6 students achieved an efficiency rating of 88.85/93.50, which was higher than the defined criteria of 80/80, 2) After the intervention, the students’ posttest mean score reached 76.67, signifying a higher level of proficiency in Scratch programming skills compared to the criteria of 75 percent, at the .05 level of significance, and 3) After the intervention, the students demonstrated a significant improvement in academic achievement compared to the pre-intervention levels, at the .05 level of significance.

คำสำคัญ

การใช้โปรแกรม Scratch, การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน, เทคนิคการใช้ผังกราฟิก

Keyword

Scratch Skills, Project–Based Learning Management, Graphic Diagram Techniques
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 23

วันนี้: 602

เมื่อวานนี้: 477

จำนวนครั้งการเข้าชม: 790,651

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033