บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้สถานการณ์จําลอง และ 2) ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลอง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 32 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) จากนักเรียน 2 โรงเรียน ในกลุ่มเครือข่ายวังสามหมอ 3 ตำบลผาสุก อำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ (1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลอง (2) แบบประเมินทักษะการพูดภาษาอังกฤษ ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบสัมภาษณ์ จำนวน 5 ข้อ โดยให้นักเรียนสุ่มจับสลาก จำนวน 2 ข้อ และ (3) แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มไม่เป็นอิสระกัน (Dependent Samples t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ก่อนเรียนโดยใช้สถานการณ์จำลองนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยทักษะการพูดภาษาอังกฤษ 20.75 คะแนน และหลังเรียน 35.00 คะแนน เมื่อทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย พบว่า นักเรียนมีทักษะการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้สถานการณ์จำลองหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) หลังเรียนโดยใช้สถานการณ์จำลองนักเรียนมีระดับความพึงใจ โดยรวมเฉลี่ย 4.06 หมายความว่ามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
Abstract
The purposes of this research were 1) to compare the English-speaking skills of Prathomsuksa 5 students before and after using simulations, and 2) to assess the satisfaction of Prathomsuksa 5 students after the intervention. The sample, obtained through cluster random sampling, consisted of 32 Prathomsuksa 5 students in the academic year 2022, from two schools under Wang Sam Mo Network Group 3, Phasuk Subdistrict, Wang Sam Mo District, Udon Thani Province. Tools for data collection included: (1) learning plans using simulations, (2) an English-speaking skills assessment form comprising five-item interviews, from which the students employed a random drawing method to select two items, and (3) an assessment form on satisfaction toward learning management using simulations. Statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation, and Dependent Samples t-test. The research findings were as follows: 1) The students demonstrated an average score increase from 20.75 percent in the pre-test to 35.00 percent in the post-test. When comparing the mean scores, the students obtained higher English-speaking skills for the post-test than the pre-test scores at the .05 level of significance, and 2) After the intervention, the students expressed a high level of satisfaction with an average rating of 4.06 overall.
คำสำคัญ
สถานการณ์จำลอง, ทักษะการพูดภาษาอังกฤษKeyword
Simulations, English speaking skillsกำลังออนไลน์: 10
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 935
จำนวนครั้งการเข้าชม: 985,320
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033