บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการสอนคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะสำหรับนักศึกษาครู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตลำปาง 2) พัฒนารูปแบบการสอนคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะสำหรับนักศึกษาครู และ 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการสอนคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะสำหรับนักศึกษาครู กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาสาขาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตลำปาง ชั้นปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 45 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามเพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการสอน 2) รูปแบบการสอน 3) แบบวัดทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ 4) แบบวัดทักษะการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนตามรูปแบบการสอน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย ปรากฏดังนี้ 1. ผลการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการสอนคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะสำหรับนักศึกษาครู พบว่า สภาพปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง และความต้องการในการพัฒนารูปแบบการสอนอยู่ในระดับมาก 2. ผลการพัฒนารูปแบบการสอนคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะสำหรับนักศึกษาครู พบว่า รูปแบบการสอนคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะสำหรับนักศึกษาครู ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ คือ 1) ความเป็นมาและความสำคัญของรูปแบบ 2) แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปแบบ 3) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 4) กระบวนการเรียนรู้ 5) บทบาทผู้สอน 6) บทบาทผู้เรียน 7) สื่อและแหล่งเรียนรู้ และ 8) การประเมินผล โดยกระบวนการเรียนรู้ มี 6 ขั้นตอน คือ ST3PC มีรายละเอียดดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 เข้าถึงปัญหา ขั้นตอนที่ 2 คิดหาวิธี ขั้นตอนที่ 3 มีแผนการ ขั้นตอนที่ 4 ประสานปฏิบัติ ขั้นตอนที่ 5 จัดแสดงผลงาน และขั้นตอนที่ 6 สู่ฐานสมรรถนะ โดยมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 3. ผลการใช้รูปแบบการสอนคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะสำหรับนักศึกษาครู พบว่า 1) นักศึกษามีทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน เท่ากับร้อยละ 79.04 2) นักศึกษามีทักษะการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน เท่ากับร้อยละ 79.13 และ 3) นักศึกษา มีความพึงพอใจต่อการเรียนตามรูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้น โดยรวมเห็นด้วยในระดับมากที่สุด ( = 4.52, S.D. = 0.57)
Abstract
This research aimed 1) to investigate problem conditions and the need for developing a teaching model on creative problem-solving to promote competency-based learning management skills for student teachers from the Faculty of Education of Thailand National Sports University, Lampang Campus, 2) to develop a teaching model on creative problem - solving to promote competency-based learning management skills of student teachers, and 3) to examine the effects after the implementation of the developed teaching model. The sample group, selected through cluster random sampling, consisted of 45 third-year physical education students enrolled in the Faculty of Education at Thailand National Sports University, Lampang Campus during the first semester of the 2021 academic year. Tools used in the research included 1) a questionnaire addressing problem conditions and needs for creating the teaching model, 2) the developed teaching model, 3) an assessment form evaluating creative problem-solving skills, 4) an assessment form evaluating competency-based learning management skills, and 5) a student satisfaction questionnaire with the developed teaching model. The statistics employed in the research encompassed percentage, mean, and standard deviation. The results indicated that: 1. The investigation into the problem conditions and need for developing a teaching model focused on enhancing student teachers’ competency-based learning management skills through creative problem-solving revealed that the problem conditions were at a moderate level, while the need for developing a teaching model was at a high level. 2. The effects after the implementation of the developed teaching model focused on enhancing student teachers’ competency-based learning management skills through creative problem-solving revealed that the developed teaching model demonstrated a high level of suitability, comprising eight components: 1) background and importance, 2) basic concepts and theories, 3 ) objectives, 4) learning process, 5) teacher roles, 6) learner roles, 7) media and learning resources, and 8) evaluation. The learning process comprised six steps outlined as ST3PC, detailed as follows: 1) Problem Identification, 2) Generating Solutions, 3) Planning, 4) Practice, 5) Task Presentation, and 6) Developing Competency Base. 3. The effects after the implementation of the developed teaching model revealed the following: 1) students acquired creative problem-solving process skills, achieving a post-intervention mean score of 79.04 percent, 2) students gained competency-based learning management skills, attaining a post-intervention mean score of 79.13 percent, and 3) overall student satisfaction with the developed teaching model reached the highest level. ( = 4.52, S.D. = 0.57)
คำสำคัญ
รูปแบบการสอน, การคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์, ทักษะการจัดการเรียนรู้, การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะKeyword
Teaching model, Creative Problem-Solving, Learning Management Skills, Competency-Based Learning Managementกำลังออนไลน์: 13
วันนี้: 720
เมื่อวานนี้: 873
จำนวนครั้งการเข้าชม: 968,709
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033