บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาความสามารถในการสร้างเสริมสุขอนามัยและความปลอดภัยในชีวิตของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา โดยการจัดการเรียนรู้แบบ TAI ร่วมกับเทคนิคการสอนเชิงพฤติกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้เป็นไปตามเกณฑ์ร้อยละ 75 กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 4 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบ TAI ร่วมกับเทคนิคการสอนเชิงพฤติกรรม 2) แบบวัดความสามารถในการสร้างเสริมสุขอนามัยและความปลอดภัยในชีวิต 3) แบบสังเกตพฤติกรรม และ 4) แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหาสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ TAI ร่วมกับเทคนิคการสอนเชิงพฤติกรรมมีความสามารถในการสร้างเสริมสุขอนามัยและความปลอดภัยในชีวิต ท้ายวงรอบปฏิบัติการที่ 1 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 33.50 คิดเป็นร้อยละ 83.75 ท้ายวงรอบปฏิบัติการที่ 2 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 51.00 คิดเป็นร้อยละ 85.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 ที่กำหนดไว้ และหลังการจัดการเรียนรู้แบบ TAI ร่วมกับเทคนิคการสอนเชิงพฤติกรรม ในภาพรวมนักเรียนมีความสามารถในการสร้างเสริมสุขอนามัยและความปลอดภัยในชีวิต มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 118 คิดเป็นร้อยละ 87.41 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75
Abstract
The purpose of this study was to improve abilities to enhance health and life safety for Mathayomsuksa 5 students with intellectual disability using TAI learning management and teaching behavior techniques to meet the 75 percent criterion. The target group, obtained through purposive sampling, included four Mathayomsuksa 5 students with intellectual disabilities at Roi-Et School for the Deaf in the first semester of the academic year 2023. The research instruments were 1) lesson plans based on TAI learning management and teaching behavior techniques, 2) a test assessing abilities to enhance health and life safety, 3) a behavioral observation form, and 4) an interview form. The statistics for data analysis were mean, percentage, and content analysis for qualitative data. The finding revealed that after completing the first cycle, Mathayomsuksa 5 students achieved a mean score of 33.50, equivalent to 83.75 percent. By the end of the second cycle, the mean score increased to 51.00, translating to 85.00 percent. After the intervention, students significantly improved in enhancing health and life safety abilities, achieving a mean score of 118, equivalent to 87.41 percent, which was higher than the specified criterion of 75 percent.
คำสำคัญ
สร้างเสริมสุขอนามัย, ความปลอดภัยในชีวิต, การจัดการเรียนรู้แบบ TAI, เทคนิคการสอนเชิงพฤติกรรมKeyword
Health Enhancement, Life Safety, TAI Learning Management, Teaching Behavior Techniquesกำลังออนไลน์: 23
วันนี้: 427
เมื่อวานนี้: 1,300
จำนวนครั้งการเข้าชม: 971,462
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033