บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหน่วยภูมิศาสตร์ เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์และธรรมชาติกับสังคมไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการเปรียบเทียบคะแนนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยการจัดการเรียนการสอนโดยใช้หมวกหกใบร่วมกับแผนผังทางความคิด 2) พัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนการสอนโดยใช้หมวกหกใบร่วมกับแผนผังทางความคิด ที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบ้านกุดกว้างประชาสรรค์ จํานวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 10 แผน รวม 10 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (T-Test Dependent Samples) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยภูมิศาสตร์ เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์และธรรมชาติกับสังคมไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนการสอนโดยใช้หมวกหกใบร่วมกับแผนผังทางความคิด มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนการสอนโดยใช้หมวกหกใบร่วมกับแผนผังทางความคิด มีคะแนนความสามารถในการคิดวิเคราะห์ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70
Abstract
This research aimed to 1) develop the learning achievement in the Geography Unit, entitled Instruments for Geography and Nature and Thai Societies of Prathomsuksa 6 students, comparing the scores before and after learning through the instructional management based on six thinking hats, and mind mapping, and 2) develop the analytical thinking ability of Prathomsuksa 6 students with the developed instructional management to meet the 70 percent criterion. The target group for this research contained 13 Prathomsuksa 6 students in the second semester of the 2022 academic year at Ban Kudkwang Prachasan School. The research instruments included 1) ten learning management plans for ten hours, 2) a learning achievement test, and 3) an assessment form on analytical thinking ability. The statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation, and the t-test for Dependent Samples. The research findings indicated that: 1. The Prathomsuksa 6 students’ learning achievement in the Geography Unit entitled Geographical and Natural Instruments and Thai Societies for the intervention, was higher than before the intervention at the 0.05 level of significance. 2. The analytical thinking ability of Prathomsuksa 6 students after the intervention achieved the 70 percent criterion.
คำสำคัญ
หมวกหกใบ, แผนผังทางความคิด, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, การคิดวิเคราะห์Keyword
Six Thinking Hats, Mind-mapping, Learning Achievement, Analytical Thinkingกำลังออนไลน์: 23
วันนี้: 740
เมื่อวานนี้: 873
จำนวนครั้งการเข้าชม: 968,729
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033