บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนิเทศการศึกษาตามหลักปาปณิกธรรม ซึ่งการนิเทศการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของการประกันคุณภาพการศึกษา ในมาตรฐานที่ 18 ที่ได้กำหนดให้สถานศึกษามีระบบการนิทศการสอนและนำผลไปปรับปรุงการสอนอย่างสม่ำเสมอ หรืออาจกล่าวว่าเป็นกระบวนการที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยเหลือ ชี้แนะและพัฒนางานให้ประสบความสำเร็จทันต่อสภาพการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น อีกทั้งเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยเหลือสนับสนุนกระบวนการบริหาร และกระบวนการเรียนการสอนให้มีคุณภาพหรือกระบวนการในการจัดกิจกรรมอันนำไปสู่จุดหมายปลายทางที่พึงประสงค์ และเป็นการแสดงถึงกิจกรรมการนิเทศที่เป็นไปในทางการให้คำปรึกษาช่วยเหลือปรับปรุงการเรียนการสอนเพื่อให้ได้มาตรฐานที่กำหนดในการประกันคุณภาพ ผลจากการศึกษาการนิเทศการศึกษาตามหลักปาปณิกธรรมที่สอดแทรกหลักธรรมตามหลักปาปณิกธรรมมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการสถานศึกษา ประกอบไปด้วย 1) ด้านจักขุมา เป็นการพัฒนาวิสัยทัศน์ (Vision) สร้างคุณค่า (Value) 2) ด้านวิธูโร การมีทักษะในการทำงานที่ดีให้มีความรู้และความเชี่ยวชาญเป็นอย่างดีในการทำงาน 3) ด้านนิสสยสัมปันโน การมีทักษะการสื่อสาร มีมนุษยสัมพันธ์ดี ทำให้ผู้บริหารสถานศึกษาบริหารจัดการการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ ตามมาตรฐานของการจัดการศึกษาของชาติ
Abstract
This academic article aims to examine educational supervision following the principles of the Papanikadhamma principles. Educational supervision is recognized as an integral element of educational quality assurance. As stipulated by the 18th standard, educational institutions must establish instructional supervision systems and utilize the outcomes to improve pedagogical practices continuously. In other words, the instructional supervision system represents a process aiming at fostering, guiding, and developing tasks successfully under varying circumstances. The instructional supervision system is also a key component that supports the quality of administration and the teaching and learning processes or a process of organizing activities that leads to desired objectives and represents the supervision activities providing advice and helping improve teaching and learning to meet the standards set for quality assurance. Results from examining educational supervision according to the Papanikadhamma principles that were implemented in the administrative management of educational institutions, comprised the following: 1) Cakkhuma, referring to developing vision (Vision), creating values (Value), 2) Vidhuro, referring to having good work skills, thereby facilitating the acquisition of knowledge and expertise in work, and 3) Nissayasampanno, referring to having communication skills, and good interpersonal relations, both of which enable school administrators to effectively manage education in accordance with the standards of national education management.
คำสำคัญ
การนิเทศการศึกษา, หลักปาปณิกธรรมKeyword
Educational Supervision, Papanikadhamma Principlesกำลังออนไลน์: 7
วันนี้: 18
เมื่อวานนี้: 708
จำนวนครั้งการเข้าชม: 893,790
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033