บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนประถมศึกษา 2) พัฒนาชุดกิจกรรมส่งเสริมความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนประถมศึกษา และ 3) ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของชุดกิจกรรมส่งเสริมความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนประถมศึกษา การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development: R&D) โดยดำเนินการวิจัยออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนประถมศึกษา โดยการสนทนากลุ่ม (Focus group) และเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 354 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน และสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม ระยะที่ 2 สร้างและประเมินความสอดคล้องของชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนประถมศึกษา โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ระยะที่ 3 ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนประถมศึกษา โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาสภาพความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนประถมศึกษา พบว่า โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง 2. ผลการสร้างและประเมินความสอดคล้องของชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียน พบว่า โดยรวมและรายด้านมีความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด 3. ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนประถมศึกษา พบว่า โดยรวมและรายด้านมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด
Abstract
The purposes of this research were to: 1) examine the state of the digital citizenship for primary students, 2) develop a learning activity to enhance digital citizenship for primary students and 3) investigate the efficiency of the learning activity to enhance digital citizenship for primary students. This research was a Research and Development (R&D) study and had three phases as follows: Phase 1, to explore the state of the digital citizenship for primary students by using focus group technique and collecting the data from the 354 grade-5 students. The sample size was applied from Krejcie & Morgan method and used multi-stage random sampling technique. The research instrument for this phase was a set of questionnaires. Phrase 2, to create and assess the consistency of the learning activity to enhance digital citizenship for primary students by five experts. Phase 3, to evaluate the appropriateness and feasibility of the learning activity to enhance digital citizenship for primary students by ten experts. The research instruments for this phase were sets of appropriateness and feasibility questionnaires. The results of the study showed that: 1. The result of examining the state of the digital citizenship for primary students as a whole and each aspect were at a moderate level. 2. The result of the creation and assessment of the consistency of the developed learning activity to enhance digital citizenship for primary students as a whole and each aspect were consistent at a very high level. 3. The result of the evaluation of the appropriateness and feasibility of the developed learning activity to enhance digital citizenship for primary students as a whole and each aspect were appropriate and feasible to implement at a very high level.
คำสำคัญ
การพัฒนาชุดกิจกรรม, ความเป็นพลเมืองดิจิทัลKeyword
Development of learning activity, Digital citizenshipกำลังออนไลน์: 16
วันนี้: 618
เมื่อวานนี้: 873
จำนวนครั้งการเข้าชม: 968,607
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033