...
...
เผยแพร่: 31 ส.ค. 2566
หน้า: 149-156
ประเภท: บทความวิจัย
View: 253
Download: 159
Download PDF
การวิจัยปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านโพนสว่าง โดยใช้ชุดกิจกรรมการอ่าน และการเขียนคำควบกล้ำ ร่วมกับการเสริมแรงด้วยเบี้ยอรรถกร
Action Research to Promote Reading and Writing Cluster Words of Prathomsuksa 6 students at Banphonsawang School Using Activity Packages on Reading and Writing Cluster Words with Token Economy Reinforcement
ผู้แต่ง
สุรัสวดี จันทพันธ์, สำราญ กำจัดภัย และพจมาน ชำนาญกิจ
Author
Suratsawadee Jantapan, Sumran Gumjudpai and Potchaman Chamnankit

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ ของนักเรียนก่อนและหลังการส่งเสริมโดยใช้ชุดกิจกรรมการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำร่วมกับการเสริมแรงด้วยเบี้ยอรรถกร และเปรียบเทียบหลังการส่งเสริมกับเกณฑ์ร้อยละ 80 ของคะแนนเต็ม และ 2) เปรียบเทียบความก้าวหน้าในการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำของนักเรียนหลังการส่งเสริม โดยใช้ชุดกิจกรรมการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำร่วมกับการเสริมแรงด้วยเบี้ยอรรถกร กับเกณฑ์ดัชนีความก้าวหน้าที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ 50 ขึ้นไป กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านโพนสว่าง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 6 แผน 2) ชุดกิจกรรมการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ จำนวน 6  ชุด และ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และดัชนีประสิทธิผล ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนกลุ่มเป้าหมายทุกคน คิดเป็นร้อยละ 100 มีความสามารถในการอ่านและการเขียน ภายหลังการส่งเสริมโดยใช้ชุดกิจกรรมการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำร่วมกับการเสริมแรงด้วยเบี้ยอรรถกร สูงกว่าก่อนเรียนและผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 80 2. นักเรียนกลุ่มเป้าหมายทุกคน คิดเป็นร้อยละ 100 มีความก้าวหน้าในการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ ภายหลังการส่งเสริมโดยใช้ชุดกิจกรรมการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำร่วมกับการเสริมแรงด้วยเบี้ยอรรถกร ผ่านเกณฑ์ดัชนีความก้าวหน้าที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ 50 ขึ้นไป

Abstract

This research objectives were 1) to compare students’ abilities in reading and writing cluster words before and after using activity packages on reading and writing cluster words with token economy reinforcement and compare the students’ abilities after the intervention with 80 percent criterion of the full score, and 2) to compare the learning progress in reading and writing cluster words after the intervention with the effectiveness index (E.I.) criterion at least of 50 percent. The target group consisted of 14 Phathomsuksa 6 students studying in the second semester of the academic year 2022 at Banphonsawang School under Mukdahan Primary Educational Service Area Office. The research tools consisted of 1) six lesson plans, 2) six sets of activity packages on reading and writing cluster words, and 3) a test assessing reading and writing ability on cluster words. The statistics for data analysis were percentage, mean, and effectiveness index. The research findings were as follows: 1. After the intervention, 100 percent of the students demonstrated an improvement in their abilities to read and write cluster words, surpassing their pre-intervention levels and meeting the set criterion of 80 percent. 2. After the intervention, 100 percent of students made significant progress in building their abilities to read and write cluster words, passing the effectiveness index (E.I.) criterion by at least 50 percent.

คำสำคัญ

การวิจัยปฏิบัติการ, การส่งเสริมการอ่านและเขียนคำควบกล้ำ, คำควบกล้ำ

Keyword

Action research, Enhancing reading and writing cluster words, Cluster words
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 7

วันนี้: 0

เมื่อวานนี้: 704

จำนวนครั้งการเข้าชม: 893,768

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033