บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ STAD ร่วมกับผังกราฟิก เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น 3) ศึกษาความสามารถในการทำงานกลุ่มของนักเรียน หลังไดรับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนแกดำวิทยาคาร อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 17 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ STAD ร่วมกับผังกราฟิก แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินความสามารถในการทำงานกลุ่ม และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าทีแบบกลุ่มสัมพันธ์กัน (Dependent samples t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ STAD ร่วมกับผังกราฟิก เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 80.49/80.74 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ความสามารถในการทำงานกลุ่มของนักเรียน หลังไดรับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น อยู่ในระดับดี ( = 2.64, S.D. = 0.48) และ 4) ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น อยู่ในระดับมาก ( = 4.50, S.D. = 0.59)
Abstract
The purposes of this research were to 1) develop the learning activities with STAD cooperative learning and graphic organizers on the topic of genetic transformation for Mathayomsuksa 4 students to meet the efficiency of 80/80, 2) compare the students’ learning achievement before and after learning through the developed learning activities, 3) explore the students’ group work ability after the intervention, and (4) examine students' satisfaction with the developed learning activities. The sample was 17 Mathayomsuksa 4 students at Kaedam Wittayakarn School, Kae Dum, Maha Sarakham Province under the Secondary Educational Service Area Office 26, in the first semester of the academic year 2022, selected through purposive sampling. The research instruments included lesson plans based on the STAD cooperative and graphic organizers, a learning achievement test, an evaluation form of group work abilities, and a satisfaction questionnaire. The statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation, and dependent samples t-test. The results revealed that: 1) The learning activities with STAD cooperative learning and graphic organizers on the topic of genetic transformation for Mathayomsuksa 4 students achieved an efficiency of 80.49/80.74, which was higher than the required criteria of 80/80. 2) The students’ learning achievement after the intervention was higher than that before the intervention at the .01 level of significance. 3) The students’ group work ability after the intervention was at a good level ( = 2.64, S.D. = 0.48). 4) The students’ satisfaction with STAD cooperative learning and graphic organizers was at a high level ( = 4.50, S.D. = 0.59).
คำสำคัญ
กิจกรรมการเรียนรู้, การเรียนรู้แบบร่วมมือ STAD, ผังกราฟิกKeyword
Learning activities, STAD cooperative learning, Graphic organizersกำลังออนไลน์: 13
วันนี้: 607
เมื่อวานนี้: 873
จำนวนครั้งการเข้าชม: 968,596
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033