...
...
เผยแพร่: 31 ส.ค. 2566
หน้า: 118-129
ประเภท: บทความวิจัย
View: 426
Download: 147
Download PDF
ความสามารถทางดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนรู้พลศึกษาของครูพลศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสิงห์บุรี อ่างทอง
Digital Competency for Physical Education Teachers’ Learning Management under the Secondary Educational Service Area Office Singburi Ang Thong
ผู้แต่ง
ณรัช เจริญศิลป์
Author
Narach Charoensilp

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ศึกษาและเปรียบเทียบการรับรู้ความสามารถของตนเองด้านดิจิทัลและความสามารถทางดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนรู้พลศึกษา ศึกษาความสัมพันธ์ของการรับรู้ความสามารถของตนเองด้านดิจิทัลและความสามารถทางดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนรู้พลศึกษา และศึกษาแนวทางการพัฒนาความสามารถทางดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนรู้พลศึกษาของครูพลศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูพลศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสิงห์บุรี อ่างทอง ปีการศึกษา 2565 จำนวน 45 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบสองกลุ่มอิสระกัน (Independent samples t-test) และการวิเคราะความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลการศึกษาพบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 77.78) สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีทุกคน (ร้อยละ 100.00) ส่วนใหญ่มีช่วงอายุอยู่ในกลุ่มคน Gen Y (ร้อยละ 71.11) มีประสบการณ์การสอนน้อยกว่า 10 ปี (ร้อยละ 57.78) และเป็นครูพลศึกษาในสถานศึกษาขนาดใหญ่พิเศษและขนาดกลางจำนวนเท่ากัน (ร้อยละ 35.56) 2. ครูพลศึกษามีการรับรู้ความสามารถของตนเองด้านดิจิทัลและมีความสามารถทางดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนรู้พลศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (\bar{x} = 4.16 และ \bar{x} = 4.15 ตามลำดับ) 3. ผลการศึกษาเปรียบเทียบพบว่า ครูพลศึกษาที่มีเพศแตกต่างกัน และกำลังสอนอยู่ในสถานศึกษาที่มีขนาดแตกต่างกัน จะมีการรับรู้และมีความสามารถทางดิจิทัลไม่แตกต่างกัน ในทางตรงกันข้าม ครูพลศึกษาที่มีช่วงอายุและประสบการณ์การทำงานที่แตกต่างกัน จะมีการรับรู้และมีความสามารถทางดิจิทัลที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. การรับรู้ความสามารถของตนเองด้านดิจิทัลมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความสามารถทางดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนรู้พลศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5. แนวทางการพัฒนาความสามารถทางดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนรู้พลศึกษา พบ 3 ประเด็นสำคัญ คือ 1) การบูรณาการเทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้พลศึกษา 2) การพัฒนาความรู้และทักษะเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนรู้พลศึกษา และ 3) การสร้างความตระหนักรู้คุณค่าของเทคโนโลยีดิจิทัล

Abstract

This research aimed to study the basic information, to study and compare the digital self-efficacy and digital competency for physical education learning management, to identify the relationship between digital self-efficacy and digital competency for physical education learning management, and to study guidelines for developing physical education learning management abilities of physical education teachers. The sample was 45 physical education teachers under the Secondary Educational Service Area Office Singburi Ang Thong in the academic year 2022, obtained by stratified random sampling. Data were collected using an online questionnaire. The statistics for quantitative data analysis were percentage, mean, standard deviation, independent samples t-test, and one way ANOVA; whereas the qualitative data were analyzed through content analysis. The research results revealed that: 1. Most of the sample was male (77.78%), all graduated with a bachelor's degree (100.00%), most of the sample was in the Gen Y age group (71.11%), teaching for less than 10 years (57.78%), and the same number of physical education teachers in extra-large and medium-sized educational institutions (35.56%). 2. The overall digital self-efficacy and digital competency for physical education learning management of physical education teachers were the same at high levels (\bar{x} = 4.16 and \bar{x} = 4.15 respectively). 3. The comparative study results showed that there were no differences in digital self-efficacy and digital competency for physical education learning management classified by gender and school sizes; on the contrary, there were significant differences at the .05 level both the digital self-efficacy and digital competency for physical education learning management classified by age-range and teaching experiences. 4. Digital self-efficacy was positively correlated with digital competency for physical education learning management at the .01 significance level. 5. The guidelines for promoting digital competency for physical education learning management in 3 important issues: 1) Integrating digital technology in physical education learning activities. 2) Enhancing knowledge and skills in digital technology for physical education learning management. And 3) Raising awareness of the value of digital technology.

คำสำคัญ

การรับรู้ความสามารถของตนเอง, ความสามารถทางดิจิทัล, ครูพลศึกษา, การจัดการเรียนรู้พลศึกษา

Keyword

Self-efficacy, Digital competency, Physical education teacher, Physical education learning management
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 9

วันนี้: 0

เมื่อวานนี้: 706

จำนวนครั้งการเข้าชม: 893,770

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033