บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการศึกษาคณิตศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริง เรื่อง สถิติ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการศึกษาคณิตศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/11 โรงเรียนบางปลาม้า “สูงสุมารผดุงวิทย์” ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ แบบทดสอบทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าแบบกลุ่มไม่อิสระกัน (Dependent samples t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. ทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดการศึกษาคณิตศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริง สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการศึกษาคณิตศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริง เรื่อง สถิติ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.49, S.D. = 0.65)
Abstract
The objectives of this research were 1) to compare the mathematical problem-solving ability of mathayomsuksa 2 students before and after learning through the Realistic Mathematics Education approach, and 2) to examine the students’ satisfaction toward the learning management using Realistic Mathematics Education approach. The sample was 30 students of Muttayom Suksa 2/11 studying in the second semester of the academic year 2022 at Bangplama Sung Sumarn Phadungwit School, obtained by cluster random sampling. The research instruments were 1) Mathematics lesson plans, 2) a mathematical problem-solving ability test, and 3) a satisfaction questionnaire. The statistics for data analysis included mean, standard deviation, and dependent samples t-test. The findings were as follows: 1. The students’ mathematical problem-solving ability after learning through the learning management using the Realistic Mathematics Education approach was higher than that before at the .01 level of significance. 2. The students’ satisfaction toward the learning management using Realistic Mathematics Education approach was overall at a high level ( = 4.49, S.D. = 0.65).
คำสำคัญ
แนวคิดการศึกษาคณิตศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริง, ทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์, ความพึงพอใจKeyword
Realistic Mathematics Education approach, Mathematical problem-solving ability, Satisfactionกำลังออนไลน์: 9
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 916
จำนวนครั้งการเข้าชม: 985,301
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033