บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะการฟังอย่างมีประสิทธิภาพของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยพอดแคสต์ 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยพอดแคสต์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยนครราชสีมา ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 23 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive selection) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนสอนการฟังอย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยพอดแคสต์ จำนวน 4 แผน 2) แบบทดสอบวัดทักษะการฟังอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยพอดแคสต์ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มไม่เป็นอิสระกัน (Dependent samples t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะการฟังอย่างมีประสิทธิภาพของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต หลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยพอดแคสต์ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 2) ความพึงพอใจของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยพอดแคสต์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
Abstract
The purposes of this research were 1) to compare the effective listening skills of undergraduate students before and after being using learning management by podcast, and to investigate the undergraduate students’ satisfaction toward learning management by podcast. The sample consisted of 23 first-year undergraduate students at Nakhonratchasima College who enrolled in a Thai Language for Communication course in the second semester of academic year 2022, obtained by purposive selection. The research instruments included: 1) 4 instructional plans for enhancing the effective listening skills using learning management by podcast, 3 hours for each plans, 12 hours in total. 2) A multiple-choice effective listening skills test with 4 options, 30 items. And 3) 20-item satisfaction questionnaire toward learning management by podcasts, a rating scale of 5 levels. The statistics for data anlysis were mean, standard deviation, percentage, and dependent samples t-test. The findings were as follows: 1) The students’ effective listening skills after the intervention was higher than that before at the .05 level of significance. 2) The students’ satisfaction toward learning management by podcast was overall at a high level.
คำสำคัญ
การพัฒนาทักษะการฟัง, การฟังอย่างมีประสิทธิภาพ, การจัดการเรียนรู้, พอดแคสต์Keyword
The development of listening skills, Effective listening, Learning management, Podcastกำลังออนไลน์: 18
วันนี้: 664
เมื่อวานนี้: 873
จำนวนครั้งการเข้าชม: 968,653
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033