...
...
เผยแพร่: 31 ส.ค. 2566
หน้า: 63-73
ประเภท: บทความวิจัย
View: 284
Download: 86
Download PDF
การพัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับเทคนิคคำถาม R–C-A รายวิชา ส 32101 สังคมศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
Development of Creative Problem-Solving Skills and Learning Achievement Using Phenomenon-Based Learning with R-C-A Questioning Techniques in S32101 Social Studies Course for Prathomsuksa 5 Students
ผู้แต่ง
วัฒนา สุริวรรณ์ และอังคณา ตุงคะสมิต
Author
Wattana Suriwan and Angkana Tungkasamit

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ รายวิชา ส 32101 สังคมศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน ร่วมกับเทคนิคคำถาม R–C-A โดยนักเรียนมีคะแนนทักษะการคิดแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของนักเรียนทั้งหมด 2) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับเทคนิคคำถาม R–C-A โดยนักเรียนมีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของนักเรียนทั้งหมด และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน ร่วมกับเทคนิคคำถาม R–C-A ในรายวิชา ส 32101 สังคมศึกษา กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนพุทธมงคลวิทยา ปีการศึกษา 2565 จำนวน 31 คน โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองปฏิบัติการ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับเทคนิคคำถาม R–C-A 2) เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลปฏิบัติการ ได้แก่ แบบบันทึกผลหลังการจัดการเรียนรู้ แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน แบบสังเกตพฤติกรรมการสอนของครู แบบสัมภาษณ์นักเรียน แบบวัดทักษะการคิดแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ท้ายวงจร และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ย่อยท้ายวงจร และ 3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ แบบวัดทักษะการคิดแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีคะแนนความสามารถในการคิดแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ เฉลี่ยเท่ากับ 35.16 คิดเป็นร้อยละ 78.14 ของคะแนนเต็ม และมีนักเรียนที่ทดสอบผ่านเกณฑ์ จำนวน 25 คนจากนักเรียนทั้งหมด 31 คน คิดเป็นร้อยละ 80.65 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีคะแนนทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยเท่ากับ 22.84 คิดเป็นร้อยละ 76.13 ของคะแนนเต็ม และมีนักเรียนที่ทดสอบผ่านเกณฑ์ จำนวน 24 คน จากนักเรียนทั้งหมด 31 คน คิดเป็นร้อยละ 77.42 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 3. ความพึงพอใจของนักเรียนจากการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน ร่วมกับเทคนิคคำถาม R–C-A ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.39 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.61

Abstract

The research aimed 1) to develop creative problem-solving skills among students in Mathayomsuksa 5 in the S32101 social studies course through the implementation of learning management based on phenomenon-based learning with R-C-A questioning techniques, to achieve the set criterion of 70 percent of the full marks and at least 70 percent of students passed the criterion, 2) to improve Mathayomsuksa 5 students’ learning achievement using phenomenon-based learning with R-C-A question techniques in S32101 social studies course to meet the set criterion of 70 percent of the full marks and at least 70 percent of the students passed the criterion, and 3) to examine the student satisfaction toward the developed learning management using phenomenon-based learning with R-C-A questioning techniques. The target group of this action research comprised 31 Mathayomsuksa 5 students studying at Phuttamongkhonwitthaya School in the 2022 academic year. The research instruments could be categorized as follows: 1) The experimental instruments comprised lesson plans based on phenomenon-based learning with R-C-A questioning techniques, 2) The reflection instruments included learning outcome recording forms, student learning behavior forms, instructional observation forms, student interview forms, an end-of-spiral creative problem-solving skills test, and lesson quizzes for each spiral, and 3) The instruments for assessing the learning management efficiency comprised a creative problem-solving skills test, a learning achievement test, and a satisfaction questionnaire. Statistics for data analysis were mean, standard deviation, and percentage. The research findings revealed that: 1. The creative problem-solving skills of Prathomsuksa 5 students improved at a mean score of 35.16 or 78.14 percent of the full marks, and 25 out of 31 students passed the 80.65 percent criterion, which was higher than the established criterion. 2. The learning achievement of Prathomsuksa 5 students achieved a mean score of 22.84 or 76.13 percent of the full marks, and 24 out of 31 students passed the 77.42 percent criterion, which was higher than the established criterion. 3. The student satisfaction toward the developed learning management using phenomenon-based learning with R-C-A questioning techniques was overall at a high level with a mean score of 4.39 and a standard deviation of 0.61.

คำสำคัญ

ทักษะการคิดแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ปรากฏการณ์เป็นฐาน, เทคนิคคำถาม R-C-A

Keyword

Creative Problem-Solving Skills, Learning Achievement, Phenomenon-Based Learning, R-C-A Questioning Techniques
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 6

วันนี้: 323

เมื่อวานนี้: 442

จำนวนครั้งการเข้าชม: 802,573

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033