บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มที่ได้รับรูปแบบการสอนแบบซินเนคติกส์เสริมด้วยเกมคู่ขัดแย้ง และกลุ่มที่ได้รับรูปแบบการสอนแบบปกติ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนระหว่างกลุ่มที่ได้รับรูปแบบการสอนแบบซินเนคติกส์เสริมด้วยเกมคู่ขัดแย้ง กับกลุ่มที่ได้รับรูปแบบการสอนแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ห้องเรียนหลักสูตรปกติ โรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดอุดรธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 2 ห้องเรียน จำนวนนักเรียนทั้งหมด 88 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยจัดเป็นกลุ่มทดลอง 1 ห้องเรียน จำนวน 44 คน และกลุ่มควบคุม 1 ห้องเรียน จำนวน 44 คน แบบแผนการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบการทดลองก่อนเรียนและหลังเรียนแบบมีกลุ่มควบคุม Pretest-Posttest Control Group Design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบซินเนคติกส์เสริมด้วยเกมคู่ขัดแย้ง และแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบปกติ จำนวน 13 แผน เกมคู่ขัดแย้ง จำนวน 13 เกม และแบบทดสอบวัดความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ การดำเนินการทดลองใช้ระยะเวลาสัปดาห์ละ 4 ชั่วโมง รวมทั้งหมด 26 ชั่วโมง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ การทดสอบค่าที ชนิดการทดสอบทีแบบไม่อิสระ และการทดสอบทีแบบอิสระ ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มที่ได้รับรูปแบบการสอนแบบซินเนคติกส์เสริมด้วยเกมคู่ขัดแย้ง และกลุ่มที่ได้รับรูปแบบการสอนแบบปกติ มีคะแนนหลังเรียนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มที่ได้รับรูปแบบการสอนแบบซินเนคติกส์เสริมด้วยเกมคู่ขัดแย้ง มีคะแนนหลังเรียนเฉลี่ยสูงกว่านักเรียนกลุ่มที่ได้รับรูปแบบการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .01
Abstract
The purposes of this research were 1) to compare the creative writing ability of Prathomsuksa 4 student groups before and after the intervention, consisting of the experimental group following the designed Synectics teaching model with oxymoron games, while the control group followed the traditional teaching model, and 2) to compare the creative writing ability between the experimental group and the control group. The sample group, obtained through cluster random sampling, consisted of Prathomsuksa 4 students from the two regular curriculum classes, yielding a total of 88 students at Prathomsuksa Schools in Udon Thani under Udon Thani Primary Educational Service Area Office 1 during the second semester of the 2021 academic year. The research employed a pretest-posttest control group design with two conditions: a class of 44 students in the experimental group taught with the designed Synectics teaching model with oxymoron games, and a class of 44 students in the control group taught with the traditional teaching model. The research instruments included 13 lesson plans using the Synectics teaching model with oxymoron games, and those employing the traditional teaching model, 13 oxymoron games, and a creative writing ability test. The intervention took four hours a week, with a total of 26 hours. Statistics for data analysis included mean, standard deviation, percentage, t-test for Independent Samples, and t-test for Dependent Samples. The findings of this research were as follows: 1) The creative writing abilities of the Prathomsuksa 4 experimental student group, utilizing the Synectics teaching model with oxymoron games, and the Prathomsuksa 4 control student group, learning through the traditional teaching model at the post-intervention, achieved higher mean scores at the 0.01 level of significance, and 2) The creative writing abilities of the Prathomsuksa 4 experimental student group demonstrated higher mean scores at the post-intervention compared to their counterparts in the control group, achieving at the 0.01 level of significance.
คำสำคัญ
การเขียนเชิงสร้างสรรค์, รูปแบบการสอนแบบซินเนคติกส์, เกมคู่ขัดแย้งKeyword
Creative Writing Ability, Synectics Teaching Model, Oxymoron Gamesกำลังออนไลน์: 18
วันนี้: 636
เมื่อวานนี้: 873
จำนวนครั้งการเข้าชม: 968,625
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033