...
...
เผยแพร่: 31 ส.ค. 2566
หน้า: 22-31
ประเภท: บทความวิจัย
View: 199
Download: 73
Download PDF
การศึกษาสภาพและความต้องการฝึกอบรมการจัดกิจกรรมพลศึกษาสำหรับเด็กพิเศษ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาพลศึกษาและวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
The Study of Training Condition and Needs on Physical Education Activity Management for Children with Special Needs of Undergraduate Students in Physical Education and Sports Science Program, Sakon Nakhon Rajabhat University
ผู้แต่ง
นิศาชล ภาวงศ์, จีรวัฒน์ สัทธรรม และนพรักษ์ แกสมาน
Author
Nisachon Pawong, Jeerawat Sattham and Nopparak Kaesaman

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) วิเคราะห์ระดับความรู้ความสามารถเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมพลศึกษาสำหรับเด็กทั่วไป 2) เปรียบเทียบความรู้ความสามารถเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมพลศึกษาสำหรับเด็กพิเศษระหว่างนักศึกษาในชั้นปีที่ต่างกัน 3) วิเคราะห์ระดับความคิดเห็นที่มีต่อการจัดกิจกรรมพลศึกษาสำหรับเด็กพิเศษ และ 4) เปรียบเทียบความต้องการฝึกอบรมระหว่างการจัดกิจกรรมพลศึกษาสำหรับเด็กทั่วไปและเด็กพิเศษ กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาพลศึกษาและวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ปีการศึกษา 2564 จำนวน 92 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ส่วนที่ 2 ความรู้ความสามารถเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมพลศึกษาสำหรับเด็กทั่วไป ส่วนที่ 3 ความรู้ความสามารถเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมพลศึกษาสำหรับเด็กพิเศษ ส่วนที่ 4 ความคิดเห็นต่อการจัดกิจกรรมพลศึกษาสำหรับเด็กพิเศษ และส่วนที่ 5 ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับความต้องการฝึกอบรมการจัดกิจกรรมพลศึกษาสำหรับเด็กพิเศษและข้อเสนอแนะ แบบสอบถามส่วนที่ 2-4 ได้รับการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา โดยมีดัชนี IOC เฉลี่ย เท่ากับ 0.93, 0.89 และ 0.97 ตามลำดับ และความเที่ยงตามวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .961, .949 และ .939 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ one-way ANOVA ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความรู้ความสามารถของนักศึกษาเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมพลศึกษาสำหรับเด็กทั่วไปในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (\bar{x} = 3.85, S.D. = 0.71) 2) นักศึกษาที่อยู่ในระดับชั้นปีต่างกัน มีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมพลศึกษาสำหรับเด็กพิเศษ โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางที่ระดับ .05 3) ระดับความคิดเห็น (ทางบวก) ของนักศึกษาต่อการจัดกิจกรรมพลศึกษาสำหรับเด็กพิเศษ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (\bar{x} = 4.15, S.D. = 0.54) และ 4) จำนวนนักศึกษาที่มีความต้องการฝึกอบรมการจัดกิจกรรมพลศึกษาสำหรับเด็กทั่วไป (ร้อยละ 55.43) มากกว่าจำนวนนักศึกษาที่ต้องการฝึกอบรมการจัดกิจกรรมพลศึกษาสำหรับเด็กพิเศษ (ร้อยละ 44.57) เพียงเล็กน้อย

Abstract

The purposes of this research were to: 1) assess the level of knowledge and ability regarding physical education (P.E.) activity management for non-special need children (NSNC), 2) compare the knowledge and ability in managing P.E. activities for special need children (SNC) among undergraduate students in different years of study, 3) analyze the level of opinions concerning P.E. activity management for SNC, and 4) compare the needs for training for managing P.E. activities for NSNC and SNC. The sample consisted of 92 undergraduate students in the physical education and sports science program at the Faculty of Education, Sakon Nakhon Rajabhat University in the 2021 academic year. The research tool included a set of questionnaires, organized into five sections: Section 1 addressed general information, Section 2 examined knowledge and ability on P.E. activity management for NSNC, Section 3 covered knowledge and ability about P.E. activity management for SNC, Section 4 explored opinions toward P.E. activity management for SNC, and Section 5 covered additional information on the training needs on P.E. activity management and recommendations. The research instrument (sections 2 to 4) confirmed its content validity with the IOC index equaling 0.93, 0.89, and 0.97, respectively, and the reliability was calculated through Cronbach’s alpha coefficient equaling .961, .949, and .939, respectively. Statistics for data analysis comprised percentage, mean, standard deviation, and One-Way ANOVA. The results were as follows: 1) The students demonstrated a high level of knowledge and ability in managing P.E. activities for NSNC (M = 3.85, S.D. = 0.71), 2) There were significant differences in the overall knowledge and ability on P.E. activity management for NSNC among students in different years of study at the .05 level of significance, 3) The students expressed positive opinions with the P.E. activity management at a high level (\bar{x} = 4.15, S.D. = 0.54), and 4) The percentage of students requiring training in P.E. activity management for NSNC (55.43%) was slightly higher than that of their counterparts needing such training for SNC, which accounted for 44.57%.

คำสำคัญ

สภาพ, ความต้องการ, พลศึกษาสำหรับเด็กพิเศษ

Keyword

Conditions, Needs, Physical Education for Children with Special Needs
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 6

วันนี้: 320

เมื่อวานนี้: 442

จำนวนครั้งการเข้าชม: 802,570

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033