บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดการสอนนาฏศิลป์ เรื่อง การประดิษฐ์ท่ารำ โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของแฮร์โรว์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามเกณฑ์ 80/80 2) ตรวจสอบประสิทธิผลของชุดการสอน ตามเกณฑ์ดัชนีประสิทธิผลมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 50 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดการสอน 4) เปรียบเทียบทักษะปฏิบัติ การประดิษฐ์ท่ารำของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดการสอน และ 5) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดการสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนบ้านบัวราษฎร์บำรุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 35 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ชุดการสอนเรื่องการประดิษฐ์ท่ารำ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบทดสอบทักษะปฏิบัติการประดิษฐ์ท่ารำ และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการเรียน แบบแผนการวิจัยเป็นแบบกลุ่มทดลองกลุ่มเดียว วัดผลก่อนและหลังการทดลอง (One group pretest-posttest design) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีชนิดกลุ่มไม่อิสระกัน (Dependent samples t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. ชุดการสอนที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพเท่ากับ 90.51/81.82 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ที่ 80/80 2. ชุดการสอนที่พัฒนาขึ้น มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับร้อยละ 64.88 ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว้ที่มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 50 3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยชุดการสอนที่พัฒนาขึ้นสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. ทักษะปฏิบัติการประดิษฐ์ท่ารำของนักเรียนหลังเรียนด้วยชุดการสอนที่พัฒนาขึ้น สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 5. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดการสอนที่พัฒนาขึ้น โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.86, S.D. = 0.38)
Abstract
The purposes of this research were to: 1) develop and find the efficiency of classical dance instructional packages entitled “Choreography” using Harrow’s performance skills model and cooperative learning management for mathayom suksa 3 students which contained the efficiency criteria of 80/80, 2) examine effectiveness of classical dance instructional packages entitled “Choreography” to effectiveness index criteria greater than or equal to 50 percent, 3) compare the students’ academic achievements possessed before and after they had learnt through classical dance instructional packages entitled “Choreography”, 4) compare the students’ choreography skill before and after they had learnt through classical dance instructional packages entitled “Choreography”, 5) explore the students’ satisfaction of classical dance instructional packages entitled “Choreography”, The samples used in this study were 35 mathayom suksa 3 students who were studying in the first semester of 2021 academic year at Banbuarajbumrung school under the Secondary Educational Service Area Office Sakon Nakhon. They were selected by cluster random sampling method. The research instruments consisted of 1) classical dance instructional packages entitled “Choreography”, 2) learning management plan, 3) achievement test, 4) choreography skill test, and 5) learning satisfaction questionaire. One group pre-test and post-test design was adopted for this study. The statistics used to analyze the data were percentage, mean, standard deviation, and dependent samples t-test. The findings were as follows: 1. The classical dance instructional packages entitled “Choreography” had efficiency of 90.51/81.82 which was higher than the set criteria of 80/80. 2. The classical dance instructional packages entitled “Choreography” had effectiveness of 64.88 percent which greater than effectiveness index criteria greater than or equal to 50 percent. 3. After the student had learnt through the classical dance instructional packages entitled “Choreography”, their academic achievement was statistically higher than that of before at .01 level of significance. 4. After the student had learnt through the classical dance instructional packages entitled “Choreography”, their Choreography skill was statistically higher than before at .01 level of significance. 5. The students’ satisfaction of the classical dance instructional packages entitled “Choreography” was at the highest level ( = 4.86, S.D. = 0.38).
คำสำคัญ
ชุดการสอน, การประดิษฐ์ท่ารำ, รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของแฮร์โรว์, การเรียนรู้แบบร่วมมือKeyword
Instructional Packages, Choreography, Harrow’s Performance Skills Model, Cooperative Learning Managementกำลังออนไลน์: 8
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 948
จำนวนครั้งการเข้าชม: 985,333
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033