บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและประเมินหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนชุมชนวัดสุนทรนิวาส โดยใช้รูปแบบการประเมินซิปป์ ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ 1) ด้านบริบท (Context) 2) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) 3) ด้านกระบวนการ (Process) และ 4) ด้านผลผลิต (Product) ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 6 กลุ่ม จำนวน 80 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 1 คน หัวหน้าฝ่ายงาน จำนวน 4 คน ครูผู้สอนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1–6 จำนวน 6 คน คณะกรรมการสถานศึกษาหรือผู้นำชุมชน จำนวน 9 คน ผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1–6 ของโรงเรียนชุมชนวัดสุนทรนิวาส ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 60 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบบันทึกข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และการวิเคราะห์ทางสถิติ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานแล้วนำมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์การประเมิน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ด้านบริบทมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.38) มีจุดมุ่งหมายของหลักสูตร โครงสร้างของหลักสูตร พันธกิจของหลักสูตร เนื้อหาของหลักสูตร และวิสัยทัศน์ของหลักสูตรสอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) 2. ด้านปัจจัยนำเข้ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.36) มีความพร้อมด้านคุณสมบัติของผู้สอน วัสดุ อุปกรณ์การสอน สิ่งอำนวยความสะดวกในโรงเรียน แหล่งเรียนรู้ อาคารสถานที่ และงบประมาณ 3. ด้านกระบวนการมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.43) มีการวัดประเมินผล การจัดกิจกรรม การเรียนรู้ การบริหารหลักสูตร การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และการนิเทศติดตามการใช้หลักสูตรสถานศึกษา 4. ด้านผลผลิตมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.45) มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน และการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนของนักเรียน เป็นไปตามหลักสูตร ส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ ทั้ง 8 กลุ่มสาระ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน
Abstract
The objectives of this research were to examine and assess the school curriculum of Chumchon Wat Sunthon Niwat School with the CIPP Model consisting of four dimensions: 1) Context 2) Input, 3) Process, and 4) Product. Data were collected from six sample groups of 80 participants, including one school administrator, four department heads, six teachers from Mathayomsuksa 1 to 6, nine school committees or community leaders, and 60 participants from student parents, and students from Mathayomsuksa 1 to 6 at Wat Soonthornniwat Community School in the second semester of the academic year 2021, obtained through purposive sampling. Tools for data collection included a set of questionnaires, interview forms, and written record forms. Along with statistical analysis using percentage, mean, and standard deviation, the data were also subjected to content analysis before being compared to the evaluation criteria. The research findings were as follows: 1. The context dimension was appropriate at a high level ( = 4.38), consisting of curriculum objectives, course structure, contents, and visions aligned with the Basic Education Core Curriculum of 2008 (Revised Edition B.E. 2560). 2. The input dimension was appropriate at a high level ( = 4.36), comprising readiness in terms of teacher qualifications, supplies, teaching equipment, school facilities, learning resources, buildings, and budgets. 3. The process dimension was appropriate at a high level ( = 4.43), consisting of measurement and evaluation, learning activities management, curriculum administration, student development activities, and supervision and monitoring of the school curricula implementation. 4. The product dimension was appropriate at a high level ( = 4.45), comprising students' desirable characteristics, reading, analytical thinking, and writing aligned with the curriculum. However, students’ learning achievement from eight learning subject groups did not pass the evaluation criteria.
คำสำคัญ
การประเมินหลักสูตร, การประเมินหลักสูตรสถานศึกษา, การประเมินรูปแบบซิปป์Keyword
Curriculum Evaluation, School Curriculum, CIPP Model Evaluationกำลังออนไลน์: 18
วันนี้: 35
เมื่อวานนี้: 708
จำนวนครั้งการเข้าชม: 893,807
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033