...
...
เผยแพร่: 30 เม.ย. 2566
หน้า: 47-55
ประเภท: บทความวิจัย
View: 347
Download: 126
Download PDF
การพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการ แก้ปัญหาของโพลยาร่วมกับบาร์โมเดล
The Development of Mathematics Problem-Solving Abilitity of Prathomsuksa 5 Students Using Polya’s Problem-Solving Concept with Bar Model Method
ผู้แต่ง
กฤษณกัณฑ์ ศรีโนนยาง และญาณภัทร สีหะมงคล
Author
Kritsanakan Srinonyang and Yannapat Seehamongkon

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาร่วมกับบาร์โมเดล ให้มีคะแนนเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 และ 2) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาร่วมกับบาร์โมเดล ให้มีคะแนนเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนหนองแวงวิทยา อำเภอไชยวาน จังหวัดอุดรธานี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบสังเกตพฤติกรรม แบบสะท้อนคิด แบบทดสอบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา และแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เฉลี่ยเท่ากับ 47.07 คิดเป็นร้อยละ 78.45 ของคะแนนเต็ม และมีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 92.86 ของนักเรียนทั้งหมด 2) นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เฉลี่ยเท่ากับ 16.21 คิดเป็นร้อยละ 81.05 และมีนักเรียนผ่านเกณฑ์จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 92.86 ของนักเรียนทั้งหมด

Abstract

The objectives of this action research were to 1) develop Prathomsuksa 5 students' Mathematics problem solving ability and to using Polya's problem-solving concept with Bar model method to have an average score of not less than 70 percent and 2) develop Prathomsuksa 5 students' Mathematics achievement using Polya's problem-solving concept with Bar model method to have an average score of not less than 70 percent. The target group was 14 Prathomsuksa 5 students at Nongvaengwittaya School in Chai Wan District, Udon Thani Province, in the first semester of the academic year 2022. The research instruments included: 1) learning management plans, 2) a behavior observation form, 3) a reflection form, 4) a Mathematics problem solving ability test, and 5) a Mathematics achievement test. The statistics for data analysis were percentage, mean, and standard deviation. The research results were as follows: 1) the students had an average score of 47.07 in solving mathematics problems, representing 78.45 percent of the full score, and there were 13 students who passed the defined criterion, representing 92.86 percent of all students, and 2) the students had an average mathematics achievement score of 16.21, representing 81.05 percent of the full score, and there were 13 students who passed the defined criterion, representing 92.86 percent of all students.

คำสำคัญ

ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์, กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา, บาร์โมเดล

Keyword

Mathematics problem solving ability, Mathematics achievement, Polya's problem-solving concept, Bar Model method
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 6

วันนี้: 326

เมื่อวานนี้: 442

จำนวนครั้งการเข้าชม: 802,576

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033